ดูแลผู้ป่วยอย่างไรไม่ให้กล้ามเนื้อลีบ

ดูแลผู้ป่วยอย่างไร
ไม่ให้กล้ามเนื้อลีบ

Masthed image
Masthed image
Masthed image

การทำกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวันนั้น ต้องใช้การเคลื่อนไหวร่างกายและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเป็นหลัก โดยความแข็งแรงของมวลกล้ามเนื้อจะขึ้นอยู่กับช่วงวัยและกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำในแต่ละวัน ดังนั้น เมื่ออายุมากขึ้น กิจกรรมที่บางอย่างที่เคยทำได้ก็อาจลดลงหรือแทบไม่ได้ทำ การใช้กล้ามเนื้อก็น้อยลงตามไปด้วย ทำให้กล้ามเนื้อเริ่มเกิดการฟ่อและมวลกล้ามเนื้อสลายไปเรื่อย ๆ และเมื่ออายุเข้าสู่วัย 50 ปี ร่างกายจะเริ่มสูญเสียกล้ามเนื้ออย่างสังเกตได้

นอกจากการสลายของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อลีบก็เป็นอีกอาการที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียง เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายทำได้อย่างจำกัด ทำให้กล้ามเนื้อของผู้ป่วยติดเตียงสลายไปเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งอันตรายจากกล้ามเนื้อลีบอาจนำไปสู่การเจ็บป่วยอื่น ๆ และภาวะที่ซับซ้อนมากขึ้นในอนาคต ดังนั้น ผู้ใกล้ชิดจึงจำเป็นต้องทราบถึงสาเหตุและวิธีปฏิบัติดูแลผู้สูงอายุที่ถูกต้องเพื่อป้องกันอาการเหล่านี้

ลักษณะของอาการกล้ามเนื้อลีบ และอันตรายที่อาจเกิดขึ้น 

อาการกล้ามเนื้อลีบ เป็นหนึ่งในอาการที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วย ที่จำเป็นต้องนอนติดเตียงเป็นเวลานาน เนื่องจากไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อทำงานน้อยลง ส่งผลให้สูญเสียความแข็งแรง ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง จนกระทั่งฝ่อลีบลงเรื่อย ๆ อาการกล้ามเนื้อลีบสังเกตได้จากขนาดของกล้ามเนื้อที่เล็กลง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อน่องและกล้ามเนื้อต้นแขนที่จะสังเกตเห็นได้ง่าย หากเริ่มมีขนาดเล็กลงควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อการรักษาที่เหมาะสม เพราะหากปล่อยทิ้งไว้จะมีผลให้เกิดมวลกล้ามเนื้อสลายได้เร็วยิ่งขึ้น  

อาการกล้ามเนื้อลีบเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญทีทำให้ผู้ป่วยหกล้มบ่อยขึ้น หรือน้ำหนักตัวลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ และเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ สูง อย่างไรก็ตาม อาการกล้ามเนื้อลีบสามารถป้องกันและรักษาได้ด้วยการ ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ออกกำลังกายมากขึ้น และที่สำคัญคือ การปรับโภชนาการให้เหมาะสม เนื่องจากปัจจัยหลักของอาการกล้ามเนื้อลีบเกิดจากการที่ร่างกายได้รับพลังงานต่อวันไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้ร่างกายต้องไปสลายมวลกล้ามเนื้อมาเสริมเป็นแหล่งพลังงานทดแทน  

 
ปรับโภชนาการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ 

เพื่อป้องกันอาการกล้ามเนื้อลีบจากการสลายของมวลกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับพลังงานที่เพียงพอต่อการนำไปใช้ในแต่ละวัน โดยควรเลือกอาหารที่ให้พลังงานจากไขมันดีที่มีโอเมก้า 3 เช่น อะโวคาโด ถั่ว เนื้อปลา หรืองา  และบริโภคโปรตีนอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะโปรตีนชนิดที่มีกรดอะมิโนจำเป็นและลิวซีนสูง เช่น ถั่วเหลือง หรือธัญพืชที่ไม่ได้ขัดสี รวมถึงโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อปลาหรือเนื้อวัว เพื่อเสริมสร้างเส้นใยของกล้ามเนื้อ  

ในกรณีของผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่บริโภคโปรตีนได้น้อยและดูดซึมโปรตีนได้ช้า การเลือกผลิตภัณฑ์อาหารสูตรครบถ้วนที่มีส่วนผสมของโปรตีนที่หลากหลาย วิตามิน และเกลือแร่ ชนิดผงหรือละลายน้ำเสริมร่วมด้วย เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุ ในการเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อ และลดโอกาสกล้ามเนื้อลีบ 

กิจกรรมเพื่อการฟื้นฟูสุขภาพร่างกาย

นอกจากการปรับโภชนาการในแต่ละมื้อแล้ว ผู้ป่วยควรได้ออกกำลังกายหรือทำกายบริหารเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อร่วมด้วย แต่เมื่อผู้ป่วยมีอาการติดเตียงทำให้การออกกำลังกายจำเป็นต้องทำแบบ Passive Rehabilitation Exercise โดยเน้นที่การเคลื่อนไหวข้อ เพื่อป้องกันอาการข้อติดและกล้ามเนื้อลีบ ซึ่งการเลือกท่ากายบริหารควรทำอย่างช้า ๆ อย่างน้อยท่าละ 10 ครั้ง ครั้งละ 3 เซ็ต ดังนี้ 

  • ขยับแขน – ขา ขึ้นลงช้า ๆ โดยให้จับที่บริเวณข้อศอกและข้อมือของผู้ป่วยให้งายขึ้น และยกขึ้นในแนวราบจนขนานกับบริเวณหูของผู้ป่วย จากนั้นให้ยกลงช้า ๆ 

  • กางหุบ - แขน โดยเริ่มจับที่บริเวณข้อศอก และข้อมือของผู้ป่วยพร้อมกางแขนออกมาด้านข้าง ค่อย ๆ งอข้อศอกและเหยียดแขนขึ้นชิดศีรษะ แล้วจึงงอข้อศอกกลับมาในทิศทางเดิม

  • งอ - เหยียดข้อศอก โดยวางแขนของผู้ป่วยให้แนบกับลำตัว แล้วหงายฝ่ามือขึ้น งอข้อศอกขึ้นจนมือแตะไหล่ผู้ป่วย แล้วจึงเหยียดออกช้า ๆ

  • งอ - เหยียดข้อสะโพก โดยยกขาผู้ป่วยขึ้นแล้ววางตั้งไขว้กับขาอีกข้าง ค่อย ๆ กดน้ำหนักลงจนตึง จึงคลายออก

นอกจากทำกายบริหารแล้วควรหากิจกรรมฝึกสมอง และกิจรรมสร้างความบันเทิงอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพจิตใจที่แข็งแรง เช่น กิจกรรมที่สามารถเล่นได้บนโต๊ะ เช่น หมากรุก เกมกระดาน ปริศนาอักษรไขว้ งานศิลปะและงานประดิษฐ์ชิ้นเล็ก เป็นต้น หรือกิจกรรมสันทนการ เช่น การร้องเพลงร่วมกันกับผู้ป่วย เล่นเกมที่มีผู้เล่นร่วมกันหลายคน เป็นกิจกรรมที่ได้ใช้เวลาร่วมกันกับคนรอบข้างหรือคนในครอบครัว ถือเป็นกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพร่างกายและจิตใจผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ ซึ่งช่วยให้ผ่อนคลายและแจ่มใสขึ้น 

 

 

TH.2022.26792.ENS.1(v1.0)©2022Abbott

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง