ดูแลร่างกายด้วยอาหารสูตรครบถ้วน 

ดูแลร่างกายด้วยอาหารสูตรครบถ้วน 

Article
Article
Article

เคยสังเกตตัวของเรามั้ยคะว่า เมื่อเวลาเปลี่ยนไป การใช้ชีวิตประจำวันในการทำกิจกรรมต่างๆ ความชอบ หรือแม้แต่อาหารการกินก็เปลี่ยนไป ไม่ใช่ว่าเราอยากเลิกทำกิจกรรมที่ชอบ หรือเลิกรับประทานอาหารที่โปรดปราน แต่เพราะร่างกายเราเปลี่ยนไป อายุที่เพิ่มขึ้นทำให้เราไม่สามารถทำกิจกรรมที่ท้าทายต่างๆ ได้อย่างเมื่อตอนที่อายุยังน้อย และเพราะร่างกายต้องการสารอาหารต่างๆ ในแต่ละช่วงวัยที่แตกต่างกัน จึงทำให้การเลือกรับประทานอาหารของเราเปลี่ยนตามไปด้วย ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น มาหาคำตอบกัน

เมื่ออายุเพิ่มขึ้น...การดูแลสุขภาพก็ยิ่งต้องใส่ใจเพิ่มขึ้น

เมื่ออายุเพิ่มขึ้นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายก็เปลี่ยนตาม รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ก็เปลี่ยนไปด้วย

ระบบแรกที่เริ่มเสื่อมไปตามวัยที่จะสังเกตได้ง่ายเมื่ออายุย่างเข้าเลข 4 คือ ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ตามธรรมชาติแล้ว เมื่อเราอายุ 40 ปีขึ้นไป ร่างกายจะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อไปประมาณร้อยละ 8 ในทุกๆ 10 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงอายุเกิน 70 ปีขึ้นไป อัตราการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวถึงร้อยละ 15 ในทุกๆ 10 ปี นั่นหมายความว่า เมื่อเราอายุ 80 ปี มวลกล้ามเนื้อของเราจะสูญเสียไปถึง 1 ใน 3 ของร่างกายนั่นเอง1-2-3

ผู้สูงอายุที่มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยจะมีความเสี่ยงที่กระดูกจะแตกหรือหักได้ง่ายขึ้น การทรงตัวจะทำได้ไม่ดี อาจหกล้มได้ง่าย ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อย จึงอาจมีความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อการเกิดการบาดเจ็บและกระดูกหัก จนอาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้

นอกจากนี้ ระบบทางเดินอาหารก็เป็นอีกระบบหนึ่งที่อาจถูกมองข้าม ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากปัญหาฟันของผู้สูงอายุ หลอดอาหารทำงานได้น้อยลง ทำให้ร่างกายย่อยอาหารได้ไม่ดีเท่าที่ควร เมื่อระบบทางเดินอาหารทำงานได้ไม่เต็มที่ จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ทานอาหารได้น้อยลงจนเกิดภาวะเบื่ออาหาร เพิ่มโอกาสที่จะเกิดโรคต่างๆ เนื่องจากการขาดสารอาหารได้ ดังนั้น การใส่ใจเลือกรับประทานอาหารให้ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนในแต่ละมื้อ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้สูงอายุ ที่ร่างกายต้องการอาหารที่ย่อยง่ายและให้สารอาหารครบถ้วน

สารอาหารเสริมสร้างร่างกายสำหรับวัยผู้ใหญ่

การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง แม้ว่าอายุจะเพิ่มมากขึ้นก็ตาม เพียงแต่ปริมาณอาหารที่ร่างกายต้องการนั้นอาจจะลดลงเมื่อเทียบกับตอนที่อายุน้อยกว่า เนื่องจากระบบการเผาผลาญ (Metabolism) ของร่างกายทำงานน้อยลง

สารอาหารที่วัยผู้ใหญ่ควรได้รับในแต่ละวัน ประกอบด้วย*

  • โปรตีน การได้รับโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสมต่อวันสำหรับวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากร่างกายต้องนำโปรตีนไปใช้เสริมสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่สึกหรอ ในแต่ละวันผู้สูงอายุควรได้รับโปรตีนที่หลากหลายในปริมาณที่มากขึ้นประมาณ 1.0-1.3 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน ได้แก่ ปลา เนื้อสัตว์ปีก เต้าหู้ ถั่วชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะโปรตีนจากเนื้อปลา ซึ่งย่อยง่ายและไขมันต่ำ รวมถึงไข่ที่ควรรับประทานสัปดาห์ละ 3-4 ฟอง ร่วมด้วยการดื่มนม
  • คาร์โบไฮเดรต จากอาหารประเภทข้าวและแป้ง เป็นอาหารที่ให้พลังงานกับร่างกาย ซึ่งควรรับประทานอาหารกลุ่มนี้ให้เพียงพอ เพื่อรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และควรเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (Complex Carbs) เช่น ข้าวกล้อง และธัญพืช ที่ผ่านกรรมวิธีหรือการขัดสีน้อยที่สุด เพื่อคงคุณค่าของสารอาหารไว้
  • ผักและผลไม้ การรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำ นอกจากจะได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นแล้ว ยังเป็นการเพิ่มกากใยในลำไส้ ซึ่งช่วยในการย่อยอาหารและช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้เป็นปกติ ลดความเสี่ยงของอาการท้องผูกที่อาจเกิดขึ้นได้ และควรรับประทานผักหลากสี เช่น สีเขียว เหลือง ส้ม เป็นต้น เฉลี่ยวันละ 400 กรัม หรือราว 4-6 ทัพพี ร่วมด้วยผลไม้ที่เนื้อนุ่มเคี้ยวง่าย
  • ไขมัน ในวัยผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุต้องการพลังงานจากไขมันเพียงเล็กน้อย เพื่อให้ร่างกายได้รับกรดไขมันจำเป็น (Essential fatty acid) และวิตามินที่ละลายในไขมันได้ในปริมาณที่พอเหมาะ ควรเลือกรับประทานเป็นไขมันจำเป็นที่ได้จากพืช เพราะมีกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวสูง เช่น Linoleic acid สามารถช่วยในการดูดซึมวิตามินบางชนิดเข้าสู่ร่างกาย เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันงา ในปริมาณที่ไม่เกิน 2 ช้อนโต๊ะต่อวัน

อาหารสูตรครบถ้วน...ดีต่อสุขภาพผู้ใหญ่และผู้สูงวัยอย่างไร

อาหารสูตรครบถ้วน เป็นนวัตกรรมอาหารในรูปแบบอาหารเสริม ที่ให้สารอาหารครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมตามที่ช่วงวัยต้องการ สามารถใช้ทดแทนหรือเสริมมื้ออาหารในแต่ละวันได้เลย ในอาหารสูตรครบถ้วนประกอบด้วยโปรตีนคุณภาพหลากหลายชนิด เช่น โปรตีนเวย์ เคซีน และโปรตีนสกัดจากถั่วเหลือง ที่มีประโยชน์ในการช่วยเสริมสร้างและคงสภาพของมวลกล้ามเนื้อ วิตามิน และแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการ ใยอาหาร เช่น FOS หรือ ฟรุคโต โอลิโกแซคคาไรด์ (Fructo-Oligosaccharides) และกรดไขมันจำเป็นอย่างโอเมก้า 3 6 และ 9

นอกจากนี้ ยังมีแคลเซียมช่วยบำรุงกระดูกและฟัน วิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส วิตามินซี วิตามินอี และซีลีเนียม ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ มีเบต้าแคโรทีนและวิตามินบี 12 ช่วยบำรุงการทำงานของระบบประสาทและสมอง

อาหารสูตรครบถ้วนยังได้รับการพัฒนามาในรูปแบบชนิดผงสำหรับชงดื่ม เพื่อให้สะดวกต่อการรับประทานและย่อยง่าย จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเสริมโภชนาการ รวมถึงกลุ่มบุคคลเฉพาะที่ไม่มั่นใจว่าตนเองจะได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนในแต่ละวัน อาหารสูตรครบถ้วนจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้มั่นใจได้ว่าร่างกายจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนอย่างเพียงพอในแต่ละวัน       

 

 

TH.2022.24675.ENS.1(v1.0)©2022Abbott

Reference Information: 
  • 1 Paul Flakoll, PhD, Rick Sharp, PhD, Shawn Baier, MS, Deanna Levenhagen, EdD, Christopher Carr, MD, and Steven Nissen, DVM, PhD From the Department of Surgery, Vanderbilt University Medical Center, Nashville, Tennessee, USA; and the Center for Designing Foods to Improve Nutrition and the Departments of Health and Human Performance and Animal Science, Iowa State University, Ames, Iowa, USA. Effect of β-Hydroxy-β-Methylbutyrate, Arginine, and Lysine Supplementation on Strength, Functionality, Body Composition, and Protein Metabolism in Elderly Women.  APPLIED NUTRITIONAL INVESTIGATION
  • 2 Shawn Baier, MS1 ; Darcy Johannsen, PhD1 ; Naji Abumrad, MD, FACS 2 ; John A. Rathmacher, PhD3,4; Steven Nissen, DVM, PhD3,4; and Paul Flakoll, PhD1. Year-long Changes in Protein Metabolism in Elderly Men and Women Supplemented With a Nutrition Cocktail of β-Hydroxy-β-methylbutyrate (HMB), L-Arginine, and L-Lysine. Journal of Parenteral and Enteral Nutrition Volume 33 Number 1 January/February 2009 71-82 ©2009 American Society for Parenteral and Enteral Nutrition 10.1177/ 0148607108322403 http://jpen.sagepub.com hosted at http://online.sagepub.com
  • 3 Gunnar Grimby and Bengt Saltin Department of Rehabilitation Medicine, Sahlgren’s Hospital, University of Gothenburg, Gothenburg, Sweden and August Krogh Institute, University of Copenhagen, Copenhagen. Denmark. MINI- REVIEW: The ageing muscle. CIinicul P~VSIO~ORV (1983) 3. 209-2 18

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง