สุขภาพของกล้ามเนื้อในวัยทำงาน อายุ 30-40 ปีขึ้นไป
วัยทำงาน อายุ 30-40 ปีขึ้นไป เริ่มสร้างครอบครัว มีภาระความรับผิดชอบสูง ความเครียดรุมเร้า ระดับฮอร์โมนหลายชนิดเริ่มลดลงต่ำ มีอาการอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ปวดศีรษะ ปวดหลัง รวมถึงอาการออฟฟิศซินโดรม
เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยเริ่มใช้เวลาในการฟื้นฟูนานขึ้น เริ่มมองเห็นความเสื่อมโทรมของร่างกาย อาทิ ริ้วรอยบนใบหน้าหรืออาการปวดเมื่อยตามร่างกาย1
วิธีดูแลสุขภาพช่วงวัย 30-40 ปีขึ้นไป:
- การเสริมสารอาหาร
วัยนี้มักเริ่มมีอาการเสื่อม เช่น อ่อนเพลีย นอนหลับไม่สนิท ผิวหนังเริ่มมีริ้วรอย ควรเสริมวิตามินบี วิตามินซี วิตามินอี และโคเอนไซม์คิวเทน1 - อาหารที่สมดุล
การเผาผลาญเริ่มไม่ดี อ้วนง่าย ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีแคลอรีสูง คาร์โบไฮเดรตสูง ไขมันสูง และอาหารรสจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด อีกทั้งยังควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ - ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ควรเลือกออกกำลังกายที่ช่วยเพิ่มมวลกระดูก และกล้ามเนื้อ เช่น แอโรบิค วิ่ง ว่ายน้ำ ยกน้ำหนัก ปัญหาการออกกำลังกายของคนในวัยนี้คือ “ไม่มีเวลา” ควรหยุดสร้างเงื่อนไขหรือข้ออ้างเพื่อหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย
พฤติกรรมเนือยนิ่งในวัยทำงาน เรามักจะเคลื่อนไหวน้อยลงเมื่อเทียบกับตอนที่เราเป็นวัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นการนั่งประชุมนานๆ การนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมวันละ 8 ชั่วโมง รถติดอยู่บนท้องถนนวันละหลายชั่วโมงทั้งเช้าและเย็น วันหยุดก็อยากนอนไม่อยากออกไปข้างนอก ไม่อยากมีกิจกรรม ปัจจัยทั้งหมดทำให้เซลล์กล้ามเนื้อเสื่อม เป็นสาเหตุให้ขาดความกระฉับกระเฉง และไม่สดชื่น
ปรึกษาด้านสุขภาพและโภชนาการกับผู้เชี่ยวชาญของเรา