รู้ทันภาวะขาดโปรตีนในผู้สูงวัย

รู้ทันภาวะขาดโปรตีนในผู้สูงวัย

Masthed image
Masthed image
Masthed image

รู้หรือไม่ว่า…เมื่ออายุมากขึ้น โปรตีนก็ยิ่งมีความสำคัญต่อร่างกาย เพราะเมื่ออายุมากขึ้น ความสามารถในการดูดซึมสารอาหารต่างๆ ไปเลี้ยงร่างกายจะลดลง เมื่อร่างกายได้รับสารอาหาร โดยเฉพาะโปรตีนไม่เพียงพอ การสร้างกล้ามเนื้อ ซ่อมแซมเนื้อเยื่อ และกลไกสำคัญต่างๆ เช่น การแข็งตัวของเลือด และระบบภูมิคุ้มกันจะมีประสิทธิภาพลดลงตามไปด้วย ทำให้ร่างกายส่งสัญญาณเตือนว่าเราควรจะปรับพฤติกรรมการรับประทาน เสริมอาหาร หรือปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะมีอาการรุนแรงขึ้น

8 สัญญาณเตือนว่าร่างกายกำลังขาดโปรตีน

เมื่อร่างกายได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ หรืออยู่ในภาวะขาดโปรตีน จะแสดงความผิดปกติให้สังเกตได้ ดังนี้ 

  1. เจ็บป่วยง่าย โปรตีนมีกรดอะมิโนที่ช่วยสนับสนุนให้ระบบภูมิคุ้มกันสร้างแอนติบอดีขึ้นมา เพื่อกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวให้ต่อสู้กับไวรัส แบคทีเรีย และสารพิษต่างๆ การได้รับโปรตีนอย่างเพียงพอ จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ปกติ เนื่องจากเซลล์และสารคัดหลั่งต่างๆ ในระบบภูมิคุ้มกันเป็นโปรตีนที่สร้างขึ้นมาจากกรดอะมิโนที่ได้จากอาหารที่มีโปรตีนที่ร่างกายรับประทานเข้าไป
  2. การบวมน้ำ สังเกตได้จากอาการท้องอืด มือ ขา หรือแขนบวมขึ้น เนื่องจากโปรตีนอัลบูมินที่ช่วยควบคุมการกระจายของเหลวในร่างกายลงน้อยลง
  3. อารมณ์แปรปรวน อาการหงุดหงิดง่าย หรือการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์อย่างฉับพลัน อาจเกิดขึ้นได้จากภาวะโปรตีนไม่เพียงพอ เนื่องจากกรดอะมิโนซึ่งเป็นส่วนประกอบของโปรตีนและมีบทบาทเป็นสารสื่อประสาท ในสมองลดน้อยลง เมื่อร่างกายขาดโปรตีน กรดอะมิโนก็จะลดลงตามไปด้วย ทำให้การสร้างสารสื่อประสาทที่ควบคุมอารมณ์และความรู้สึก (Dopamine and Serotonin) ซึ่งมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการทำงานของสมองและระบบประสาท ส่งผลต่อกระบวนการคิด พฤติกรรม อารมณ์ลดลง จึงส่งผลให้พฤติกรรมต่างๆ ไม่เป็นปกติ รวมถึงอาจพบอาการซึมเศร้า หรือมีลักษณะก้าวร้าวร่วมด้วย
  4. การนอนไม่หลับ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยจากการขาดกรดอะมิโนและทริปโตเฟน (Tryptophan) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนจำเป็นชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะช่วยส่งเสริมการนอนหลับที่ดี ช่วยให้หลับได้สนิทและมีคุณภาพมากขึ้น 
  5. ผมร่วง เล็บเปราะ และผิวหนังแห้ง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดจากการขาดโปรตีนอีลาสติน คอลลาเจน และเคราติน ถึงแม้ว่าการที่ผมบาง แห้ง ร่วงง่าย หรือเล็บเปราะขึ้น อาจจะไม่ใช่ผลจากการขาดสารอาหารเพียงอย่างเดียว แต่ก็เป็นสัญญาณเตือนถึงภาวะการขาดโปรตีนที่เราไม่ควรมองข้าม
  6. เพลียหรืออ่อนแรง การขาดโปรตีนเป็นสาเหตุหลักของการสลายของมวลกล้ามเนื้อ ทำให้อ่อนเปลี้ยเพลียแรง การทรงตัวไม่ค่อยดี ออกซิเจนในร่างกายน้อยลง รู้สึกเหนื่อยง่าย
  7. หิวง่าย เป็นหนึ่งในสัญญาณของการขาดโปรตีนที่สังเกตได้ง่าย เพราะโปรตีนเป็นสารอาหารที่ให้พลังงาน เมื่อโปรตีนไม่พอเราจึงรู้สึกหิว หากรับประทานอาหารแล้วยังไม่รู้สึกเติมเต็ม อาจไปเน้นที่อาหารที่ให้โปรตีน ก็จะช่วยให้อิ่มท้องขึ้น
  8. แผลหายช้า เมื่อเกิดแผลตามร่างกายและสมานตัวช้ากว่าที่ควรจะเป็น ส่วนหนึ่งอาจมาจากร่างกายสร้างคอลลาเจนไม่ได้มากพอ ควรได้รับโปรตีนเพิ่มขึ้นเพื่อใช้ซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่าง ๆ 

ปัจจัยที่ทำให้ร่างกายขาดโปรตีน 

บางคนอาจสงสัยว่า ทำไมเราถึงขาดโปรตีนได้ ทั้งๆ ที่ก็รับประทานอาหารเหมือนเดิม

ที่จริงแล้ว เมื่อเราอายุมากขึ้น ระบบย่อยอาหารก็จะทำงานได้ไม่ดีเหมือนเมื่อก่อน การเคลื่อนไหวของหลอดอาหารและกระเพาะอาหารจะช้าลง ทำให้การดูดซึมสารอาหารต่างๆ ลดลง เช่น โปรตีน วิตามินบี 12 แคลเซียม เป็นต้น  รวมทั้งมีการหลั่งน้ำย่อยจากตับอ่อน และการไหลเวียนของเลือดไปที่ตับน้อยลงด้วย

นอกจากนี้ ยังมีส่วนประกอบของร่างกายและระบบการเผาผลาญ (Metabolism) ที่มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ผู้สูงอายุเสียมวลกล้ามเนื้อและมวลกระดูกไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น การสร้างอัลบูมินซึ่งเป็นโปรตีนที่สร้างขึ้นจากตับน้อยลง การนำแร่ธาตุไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายลดลง รวมทั้งการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ ต่อมใต้สมอง การหลั่งฮอร์โมนต่างๆ ลดลง อาจทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหารและรับประทานได้น้อยลง 

บางคนอาจพบกับปัญหาด้านสภาพแวดล้อม เช่น ขาดคนดูแลเรื่องอาหารการกิน ถูกทอดทิ้งให้อยู่คนเดียว ประสบภาวะทางจิตใจที่ทำให้ไม่อยากรับประทานอาหาร รวมถึงมีภาวะทางร่างกายอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ฟันผุ การรับรู้รสชาติน้อยลง ปัจจัยเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการรับประทานอาหาร ซึ่งส่งผลกระทบต่อการได้รับสารอาหารที่น้อยลงตามไปด้วย 

ผลกระทบต่อร่างกายเมื่อผู้สูงวัยขาดโปรตีน

เห็นได้ชัดว่า การขาดโปรตีนจะส่งผลโดยตรงต่อระบบการทำงานในร่างกาย และส่งสัญญาณเตือนเป็นอาการต่างๆ ให้เราได้รู้ ซึ่งหากปล่อยไว้ อาจส่งผลกระทบรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะกับระบบภูมิคุ้มกันและการอักเสบต่าง ๆ

การขาดโปรตีนมีผลต่อการทำงานตามปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพราะโปรตีนมีบทบาทต่อการทำงานของน้ำเหลืองและระบบเซลล์ที่ช่วยทำลายสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคในร่างกาย มีเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่สร้างแอนติบอดี และมีโปรตีนจากเซลล์เม็ดเลือดขาวทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเซลล์ ช่วยกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์ภูมิคุ้มกัน ดังนั้น เมื่อภูมิคุ้มกันทำงานได้น้อยลง ก็อาจทำให้โรคประจำตัว หรือภาวะพันธุกรรมที่แฝงอยู่แสดงอาการรุนแรงขึ้น

ส่วนอาการอักเสบ อาจเป็นผลมาจากภาวะภายในร่างกาย เช่น เซลล์เนื้องอก หรือเซลล์มะเร็งไปกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติจนเกิดการอักเสบ หรือเป็นการอักเสบที่เกิดจากเอนไซม์และสารต่างๆ ที่หลั่งออกมาจากเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันระหว่างกระบวนการทำลาย 

นอกจากนี้ การเกิดการอักเสบอาจเป็นผลมาจากปัจจัยภายนอกอื่นๆ เช่น การผ่าตัด การได้รับสารก่อภูมิแพ้ ได้รับเลือดหรือการปลูกถ่ายอวัยวะที่ทำให้ร่างกายเกิดการตอบสนอง มีอุณหภูมิสูง มีอาการอักเสบ เช่น ปวด บวม แดง เป็นต้น ร่างกายที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการอักเสบบ่อยๆ จะทำให้อวัยวะต่างๆ เสื่อมถอย และอาจเจ็บป่วยหรือเกิดโรคไม่ติดต่อแบบเรื้อรังตามมาได้

การป้องกันภาวะขาดโปรตีนด้วยอาหารสูตรครบถ้วน

การป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดภาวะขาดโปรตีนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะเมื่ออายุมากขึ้น ระบบการย่อย การดูดซึมและนำสารอาหารไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายทำได้ไม่ดีเท่าเมื่อก่อน การรับประทานอาหารแต่เพียงอย่างเดียวจึงอาจไม่เพียงพอ และผู้สูงอายุบางคนก็อาจรับประทานอาหารได้น้อยลงด้วย ดังนั้น การเสริมสารอาหารที่จำเป็นให้ร่างกายอย่างครบถ้วนจึงเป็นสิ่งที่ควรพิจารณา

เมื่ออายุมากขึ้นเราจึงควรเลือกรับประทานอาหารที่ให้โปรตีนแก่ร่างกายอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ โดยเลือกอาหารที่ให้โปรตีนสูง ได้แก่ ถั่วเหลือง เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เต้าหู้ ไก่ ปลา ไข่ นมพร่องมันเนย รวมถึงธัญพืช เต็มเมล็ด และไม่ควรละเลยการรับประทานผักและผลไม้ร่วมด้วย เพราะร่างกายยังต้องการวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ เพื่อรักษาสมดุลของสารอาหารต่างๆ ที่ร่างกายได้รับ 

อาหารสูตรครบถ้วนเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเสริมสารอาหารอย่างเพียงพอและสมดุลให้แก่ร่างกาย ด้วยสารอาหารที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ให้พลังงาน วิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร ที่มีสัดส่วนของพลังงานจากโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตอย่างเหมาะสมตามที่ร่างกายต้องการ รวมถึงรสชาติที่ช่วยให้รับประทานง่ายอีกด้วย

 

 

TH.2022.25512.ENS.1(v1.0)©2022Abbott

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง