อาหารสมอง ป้องกันอัลไซเมอร์

อาหารสมอง

ป้องกันอัลไซเมอร์

Masthed image
Masthed image
Masthed image

เคยสงสัยมั้ยว่า ทำไมผู้สูงอายุใกล้ตัวมักจะชอบหลงๆ ลืมๆ เช่น หาของไม่เจอ ลืมเรื่องที่พูดคุย เป็นต้น เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น สมองก็เกิดการเสื่อมถอยไปตามเวลา นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคอัลไซเมอร์ก็เป็นได้ แท้จริงแล้วอาการหลงลืมแบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และอาการแบบใดที่เข้าข่าย “โรคอัลไซเมอร์” การเฝ้าสังเกตและดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิดจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะผู้สูงวัยทุกคนไม่จำเป็นต้องเป็นโรคอัลไซเมอร์   แต่..จะรู้ได้อย่างไรว่า ผู้สูงวัยที่ใกล้ชิดเป็นอัลไซเมอร์หรือไม่?  และ..จะทำอย่างไร ผู้สูงวัยจึงจะมีความจำดี สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข? 

รู้จักโรคอัลไซเมอร์ 

โรคอัลไซเมอร์ (Alzeimer Disease) เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะสมองเสื่อม เกิดจากการถดถอยของการทำงานหรือโครงสร้างของสมอง ซึ่งเป็นความเสื่อมที่เกิดจากโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เบต้า-อะไมลอยด์ (bata-amyloid) ไปจับกับเซลล์สมองทำให้สมองเสื่อมและฝ่อลง ทำให้การสื่อสารระหว่างเซลล์สมองเสียหายจากการลดลงของสารอะซีติลโคลีน (acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลต่อความจำ เมื่อเซลล์สมองส่วนความจำหรือที่เรียกว่า ฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ถูกทำลาย จะส่งผลกระทบต่อความจำระยะสั้น และแพร่กระจายไปสมองส่วนอื่นๆ  ทั้งด้านการเรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิด ภาษา และพฤติกรรม โรคอัลไซเมอร์ยังเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะสมองเสื่อมอีกด้วย 

สาเหตุของอัลไซเมอร์ 

อายุที่เพิ่มมากขึ้นยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปจะมีความเสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้น 2 เท่าในทุก ๆ 5 ปี จากสถิติพบว่ากลุ่มคนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป จะพบผู้ป่วย 5% กลุ่ม อายุ 75 ปีขึ้นไป พบผู้ป่วยอัลไซเมอร์ 15% และกลุ่มอายุ 85 ปีขึ้นไป พบมากถึง 40% นอกจากนี้ การถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ก็ส่งผลให้มีโอกาสเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ เพียงแต่พบได้น้อยมากประมาณ 5% และเพศหญิงมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์มากกว่าเพศชาย อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุไม่จำเป็นต้องเป็นอัลไซเมอร์ทุกคน ตามที่เราเคยเห็นผู้สูงอายุหลายคนก็ยังมีความจำที่ดีอยู่ 

อาการอัลไซเมอร์ 

จะรู้ได้อย่างไรว่า การหลงลืม หรือจดจำรายละเอียดบางอย่างของผู้สูงอายุใกล้ตัวเรา เป็นเพียงการหลงลืมตามปกติของผู้สูงอายุที่อาจเกิดขึ้นได้   หรือเป็นสัญญาณที่แสดงแนวโน้มของอาการเริ่มต้นของอัลไซเมอร์  

อาการแรกเริ่มที่สำคัญของผู้ป่วยอัลไซเมอร์คือการสูญเสียความจำระยะสั้น ซึ่งเป็นอาการที่ใกล้เคียงกับภาวะความจำเสื่อมของผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เมื่อเวลาผ่านไปผู้ป่วยประมาณ 80-90% จะมีพฤติกรรมหรืออาการทางจิตร่วมด้วย ที่สังเกตได้ง่ายคือความก้าวร้าว ซึ่งจะทำให้การดูแลผู้ป่วยที่เป็นไปด้วยความลำบากยิ่งขึ้น 

อาการโดยทั่วไปของโรคอัลไซเมอร์ แบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้ 

  • ระยะแรก ความจำถดถอย เริ่มจากการหลงลืมสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น ย้ำคิดย้ำทำ ชอบถามในเรื่องเดิม ๆ ซ้ำ ๆ พูดเรื่องเดิมซ้ำ ๆ สับสนทิศทาง อารมณ์แปรปรวนง่าย แต่ยังสื่อสารและทำกิจวัตรประจำวันได้ 

  • ระยะกลาง ความจำลดลงอย่างชัดเจน ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ในระยะนี้จะจดจำชื่อคนรู้จักไม่ได้ ลำดับญาติพี่น้องไม่ได้ จำวันเวลา ทิศทางไม่ได้ จึงไม่ควรให้ผู้ป่วยอยู่ตามลำพัง หรือเดินทางโดยไม่มีคนดูแลไปด้วย เพราะว่าผู้ป่วยจะหลงทางได้ง่าย เดินไปโดยไม่มีจุดหมาย พฤติกรรมและอารมณ์เปลี่ยนไปจากเดิม และเริ่มมีปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวัน และไม่อยู่ในโลกของความเป็นจริง อยากต่อการดูแลและการเข้าสังคม 

  • ระยะท้าย อาการรุนแรง ผู้ป่วยจะตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างน้อยลง จนถึงไม่ตอบสองเลย อาจเกิดภาพหลอน สุขภาพทรุดโทรมคล้ายผู้ป่วยติดเตียง เหม่อลอย สายตามองโดยไร้จุดหมาย ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ต้องพึ่งพาผู้อื่นดูแลในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น ป้อนข้าว อาบน้ำ เป็นต้น 

การดูแลผู้สูงวัยที่เป็นอัลไซเมอร์ 

ปัจจุบันโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ มีเพียงการรักษาประคับประคองไม่ให้อาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีแนวทางการรักษาและดูแลผู้ป่วย ดังนี้ 

  • การรักษาโดยไม่ใช้ยา แต่เน้นที่การดูแลสุขภาพกายและการทำกิจวัตรประจำวัน ฝึกทักษะการเข้าสังคมกับครอบครัวและสังคมภายนอก ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ลดสิ่งกระตุ้น ลดการเกิดอุบัติเหตุ และหากิจกรรมกระตุ้นสมอง 

  • การรักษาโดยใช้ยา แนวทางนี้จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ในการพิจารณาตามอาการเพื่อชะลอการทำลายความจำในสมอง 

พลังอาหารเสริมสร้างสมอง

นอกจากการนอนหลับให้เพียงพอและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอแล้ว โภชนาการมีส่วนสำคัญอย่างมากในการดูแลสุขภาพและสมอง เพราะสารอาหารคือจุดเริ่มต้นที่ดีของการดูแลสมอง มีส่วนช่วยสนับสนุนการทำงานและชะลอความเสื่อมของสมอง เพื่อให้มั่นใจว่า ผู้สูงอายุจะได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ การรับประทานอาหารสูตรครบถ้วนถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการดูแลสุขภาพ ช่วยป้องกันการขาดสารอาหารในผู้สูงวัย  

 

 

TH.2022.26788.ENS.1(v1.0)©2022Abbott

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง