รู้จักอาหารทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน 

อาหารทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

Banner
Banner
Banner

อาหารทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน คืออะไร 

หลาย ๆ คนอาจจะเคยเห็นและสนใจ “อาหารทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน (diabetes specific formula)” มาก่อน แต่ยังไม่เข้าใจว่าคืออะไร

อาหารทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เป็นอาหารที่ช่วยให้ควบคุมน้ำหนักและระดับน้ำตาล (กลูโคส) ในเลือดและน้ำหนักตัว โดยจะมีสารอาหารจำเป็นครบทั้ง 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเบาหวาน ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงสามารถดื่มเสริมจากอาหารมื้อหลัก หรือทดแทนอาหารบางมื้อได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของคุณหมอหรือนักโภชนาการ1

อาหารทดแทนสูตรครบถ้วนที่คิดค้นมาเพื่อผู้ป่วยเบาหวาน (SR)

SR หรือ เอสอาร์ เป็นอาหารทดแทนที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด2 มีคาร์โบไฮเดรตชนิดพิเศษที่ถูกย่อยและดูดซึมช้ากว่าคาร์โบไฮเดรตทั่วไป จำนวน 2 ชนิด ได้แก่

  • ซูโครมอลต์ (sucromalt) จะถูกย่อยและดูดซึมอย่างช้า ๆ ที่ลำไส้เล็ก ช่วยเพิ่มการหลั่งฮอร์โมน glucagon-like peptide-1 (GLP-1)3 ทำให้ระดับน้ำตาลและฮอร์โมนอินซูลินในเลือดลดลง4
  • ไฟเบอร์ซอล-2 (fibersol-2) เป็นแหล่งของใยอาหาร ช่วยควบคุมความหิวและอิ่ม5 โดยถูกย่อยและดูดซึมประมาณ 60% ส่วนที่เหลือทำหน้าที่เป็นใยอาหารหรือไฟเบอร์ ซึ่งจะถูกขับทางอุจจาระ6

ประโยชน์ของ SR

SR ช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้นทั้งในระยะสั้น7 และระยะยาว8 เนื่องจากอาหารสูตรเฉพาะนี้จะถูกย่อยและดูดซึมช้า ๆ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหารให้คงที่ อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นการหลั่ง GLP-17,9-11 และลดการหลั่งฮอร์โมนกลูคากอน12 ทำให้อินซูลินตามธรรมชาติทำงานได้ดีขึ้น ยืนยันได้จากผลการวิจัยทางคลินิก พบว่าผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่

  1. กลุ่มที่ได้รับอาหารทดแทนสูตรเฉพาะในมื้อเช้า
  2. กลุ่มที่ควบคุมอาหารการกินตามหลักโภชนาการพื้นฐาน

พบว่ากลุ่มที่กินอาหารทดแทนต่อเนื่อง 1 เดือน สามารถควบคุมความแปรปรวนของระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่าอีกกลุ่มที่ไม่ได้รับอาหารทดแทน13

 

นอกจากนี้ ระดับ GLP-1 ที่เพิ่มขึ้นหลังจากดื่ม SR ยังช่วยลดความอยากอาหารผ่านกลไกของศูนย์ควบคุมความหิวในสมอง ทำให้ผู้ป่วยและรู้สึกอิ่มนานขึ้น เนื่องจากทางเดินอาหารบีบตัวน้อยลง ทำให้อาหารอยู่ในกระเพาะอาหารและลำไส้นานขึ้น14,15 ผู้ป่วยเบาหวานจึงสามารถควบคุมน้ำหนักได้เมื่อดื่ม SR ทดแทนมื้ออาหารหลักบางมื้อ8

จากการศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งได้รับอาหารทดแทนสูตรเฉพาะวันละ 1–2 มื้อ ร่วมกับการควบคุมอาหารมื้ออื่นอย่างเหมาะสม และออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องเป็นเวลา 6 เดือน พบว่ามีค่าน้ำตาลสะสม A1C ลดลงเฉลี่ย 0.5–1% และมีน้ำหนักตัวลดลงเฉลี่ย 5–7 กก.8 ซึ่งทุก 1% ของ A1C ที่ลดลง ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดได้ถึง 37% และโอกาสเสียชีวิตจากเบาหวานลดลง 21%16

ดื่มอย่างไรให้ได้ผล?

ผู้ป่วยเบาหวานทุกระยะที่อยู่ระหว่างการรักษาสามารถดื่ม SR ได้  โดยคุณหมอจะพิจารณาปริมาณและวิธีดื่มจากค่าดัชนีมวลกาย (body mass index หรือ BMI) ของผู้ป่วย17 โดยคำนวณค่า BMI จาก น้ำหนักหน่วยกิโลกรัม หารด้วย ส่วนสูงหน่วยเมตร ยกกำลังสอง

BMI = น้ำหนัก (กิโลกรัม)/ [ส่วนสูง (เมตร)]2

และปฏิบัติตามคำแนะนำในการดื่ม SR ตามเกณฑ์ BMI ดังต่อไปนี้

เกณฑ์ BMI

ปริมาณและวิธีดื่ม

<18.5 กก./ตร.ม.

ดื่ม 1–3 แก้ว/วัน เสริมจากมื้อหลัก

18.5–23 กก./ตร.ม.

ดื่ม 1–2 แก้ว/วัน เสริมจากมื้อหลัก หรือทดแทนมื้ออาหาร

>23 กก./ตร.ม.

ดื่ม 1–2 แก้ว/วัน ทดแทนมื้อหลัก หรือมื้ออาหารว่าง

หรือสรุปง่าย ๆ คือ

ü  ถ้าต้องการคุมน้ำหนัก: แนะนำให้ดื่มทดแทนมื้ออาหาร

ü  ถ้าต้องการเพิ่มน้ำหนัก: แนะนำให้ดื่มเสริมมื้ออาหาร

วิธีชงดื่ม ให้ชง SR 5 ช้อนตวงปาด ผสมกับน้ำ 200 มล. แล้วดื่มช้า ๆ ช่วงแรกที่ผู้ป่วยเริ่มดื่ม SR อาจจะต้องกินผักใบหรือโปรตีนชนิดดีเสริมเพื่อให้รู้สึกอยู่ท้องอิ่มนาน ควรดื่มต่อเนื่องอย่างน้อย 30 วัน การดื่มทดแทนมื้อเช้าจะช่วยลดความผันผวนของระดับน้ำตาลระหว่างวัน ขณะที่การดื่มมื้ออื่น ๆ จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลและปริมาณพลังงานที่ได้รับต่อวัน

นอกจากรูปแบบผงแล้ว ยังมี SR ชนิดน้ำ พร้อมดื่ม ที่เหมาะกับเบาหวานวัยทำงานที่มีวิถีชีวิตเร่งรีบ หรือไม่สะดวกชง หรือ คนที่มีกิจกรรมนอกบ้านเป็นประจำและต้องการผลิตภัณฑ์ที่พกพาสะดวก

#อาหารเสริมคนเป็นเบาหวาน #นมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน #นมผงสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน #อาหารทางการแพทย์ #SR

เอกสารอ้างอิง

1.              สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566. 1st ed. ศรีเมืองการพิมพ์; 2566.

2.              González-Ortiz M, Martínez-Abundis E, Hernández-Salazar E, et al. Effect of a nutritional liquid supplement designed for the patient with diabetes mellitus (Glucerna SR) on the postprandial glucose state, insulin secretion and insulin sensitivity in healthy subjects. Diabetes, Obesity and Metabolism. 2006;8:331-335.

3.              Dammann K, Bosscher D. Sweet slow digestible carbohydrates - Effects on the postprandial glycaemic response and putative health benefits. Nutrafoods. 2011;10(1):7-11. www.ceceditore.com

4.              Grysman A, Carlson T, Wolever TMS. Effects of sucromalt on postprandial responses in human subjects. Eur J Clin Nutr. 2008;62:1364-1371. doi:10.1038/sj.ejcn.1602890

5.              Ye Z, Arumugam V, Haugabrooks E, Williamson P, Hendrich S. Soluble dietary fiber (Fibersol-2) decreased hunger and increased satiety hormones in humans when ingested with a meal. Nutrition Research. 2015;35:393-400. doi:10.1016/j.nutres.2015.03.004

6.              Ohkuma K, Wakabayashi S. Fibersol‐2: A Soluble, Non‐Digestible, Starch‐Derived Dietary Fibre. In: Advanced Dietary Fibre Technology. Wiley; 2000:509-523. doi:10.1002/9780470999615.ch44

7.              Devitt AA, Oliver JS, Hegazi RA, Mustad VA. Glycemia Targeted Specialized Nutrition (GTSN) improves postprandial glycemia and GLP-1 with similar appetitive responses compared to a healthful whole food breakfast in persons with type 2 diabetes: a randomized, controlled trial. J Diabetes Res Clin Metab. Published online 2012:1-9. http://www.hoajonline.com/journals/pdf/2050-0866-1-20.pdf

8.              Chee WSS, Singh HKG, Hamdy O, et al. Structured lifestyle intervention based on a trans-cultural diabetes specific nutrition algorithm (tDNA) in individuals with type 2 diabetes: A randomized controlled trial. BMJ Open Diabetes Res Care. 2017;5:1-13. doi:10.1136/bmjdrc-2016-000384

9.              Voss AC, Maki KC, Garvey WT, et al. Effect of two carbohydrate-modified tube-feeding formulas on metabolic responses in patients with type 2 diabetes. Nutrition. 2008;24:990-997. doi:10.1016/j.nut.2008.06.009

10.           Mottalib A, Mohd-Yusof BN, Shehabeldin M, Pober DM, Mitri J, Hamdy O. Impact of diabetes-specific nutritional formulas versus oatmeal on postprandial glucose, insulin, GLP-1 and postprandial Lipidemia. Nutrients. 2016;8(443):1-11. doi:10.3390/nu8070443

11.           Dávila LA, Bermúdez V, Aparicio D, et al. Effect of oral nutritional supplements with sucromalt and isomaltulose versus standard formula on glycaemic index, entero-insular axis peptides and subjective appetite in patients with type 2 diabetes: A randomised cross-over study. Nutrients. 2019;11(1477):1-23. doi:10.3390/nu11071477

12.           Lim GE, Brubaker PL. Glucagon-like peptide 1 secretion by the L-cell: The view from within. Diabetes. 2006;55(SUPPL. 2):S70-S77. doi:10.2337/db06-S020

13.           Peng JH, Lu JY, Ma XJ, et al. Breakfast replacement with a liquid formula improves glycaemic variability in patients with type 2 diabetes: a randomized clinical trial. British Journal of Nutrition. 2019;121:560-566. doi:10.1017/S0007114518003628

14.           Shah M, Vella A. Effects of GLP-1 on appetite and weight. Rev Endocr Metab Disord. 2014;15(3):181-187. doi:10.1007/s11154-014-9289-5

15.           Dailey MJ, Moran TH. Glucagon-like peptide 1 and appetite. Trends in Endocrinology and Metabolism. 2013;24(2):85-91. doi:10.1016/j.tem.2012.11.008

16.           Pozilli P, Strollo R, Bonora E. One size does not fit all glycemic targets for type 2 diabetes. Journal of Diabetes Investigation. 2014;5:134-141. doi: 10.1111/jdi.12206.

17.           Hussein Z, Hamdy O, Chin Chia Y, et al. Transcultural diabetes nutrition algorithm: A Malaysian application. Int J Endocrinol. 2013;2013:1-7. doi:10.1155/2013/679396

บทความที่เกี่ยวข้อง