เปลี่ยนพฤติกรรม ถนอมไตให้ไม่พังไปกว่าเดิม

เปลี่ยนพฤติกรรม ถนอมไตให้ไม่พังไปกว่าเดิม

Banner
Banner
Banner

เปลี่ยนพฤติกรรม ถนอมไตให้ไม่พังไปกว่าเดิม

parallax

การเป็นไตวายเรื้อรังแล้ว สิ่งหนึ่งที่ต้องทำความเข้าใจคือ โรคนี้ไม่มีทางหายขาดแถมมีโอกาสที่จะ เสื่อมลงๆ ไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้ตัว เพราะไม่มีอาการบ่งชี้ นอกเสียจากสมรรถภาพการขับของเสียของไตจะแย่ลงจนการสะสมของเสียในร่างกายมากจนได้ที่ ก็จะแสดงอาการออกมา เช่น บวม ปัสสาวะน้อยลง ฯลฯ1 แต่ในระยะแรกๆ ยังไม่ถึงขั้นต้องฟอกไต ดังนั้นนับเป็นโอกาสดีที่จะรีบถนอมไตส่วนที่ยังทำงานได้ไว้ไม่ให้แย่ลง

 

ระวังเรื่องอาหาร คุณยังกินอาหารได้ตามปกติแต่ต้องควบคุมบางชนิด เน้นอาหารโปรตีนต่ำ ควรลดเนื้อสัตว์ต่างๆ ลดอาหารเค็ม มัน หวาน เพื่อช่วยให้ร่างกายมีของเสียสะสมน้อยที่สุดและลดการทำงานหนักของไต ส่วนผู้ที่มีโพแทสเซียม ฟอสฟอรัสสูง ต้องลดอาหารที่มีสารเหล่านี้สูงลงด้วย1

 

ดูแลโรคประจำตัวให้อยู่ในเกณฑ์1

  • ควบคุมความดัน ให้อยู่ที่ 130/80 มิลลิเมตรปรอท1 กินยาลดความดันอย่างสม่ำเสมอ
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้ต่ำกว่า 110 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรและค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสม HbA1C ให้น้อยกว่า 6.5%1 ดูได้จากผลเลือดเวลาไปตรวจ ถ้าค่าสูงกว่านี้ ต้องลดแป้งและน้ำตาล
  • ควบคุมระดับไขมันในเลือด ระดับ LDL ให้น้อยกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร1 ลดอาหารที่มีไขมันจากสัตว์ เน้นกินอาหารไขมันดี เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก หรือการกินเนื้อปลาทะเลน้ำลึกเพื่อเพิ่มค่า HDL ในเลือด และลดค่า LDL ลง
  • ควบคุมโรคเกาต์ อย่าให้กำเริบด้วยการกินยาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่องและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารพิวรีนสูงที่จะทำให้มีกรดยูริกในเลือดสูง

 

ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้สมุนไพรใดๆ2-3  สมุนไพรบางชนิดเป็นอันตรายต่อไต เช่น ไคร้เครือที่อาจก่อให้เกิดไตวายได้ ส่วนสมุนไพรอีกหลายชนิดที่โฆษณาสรรพคุณบำรุงไต เช่น ถั่งเช่า หญ้าหนวดแมว โสม อาจทำให้การทำงานของไตลดลงเฉียบพลัน ดังนั้นควรเลี่ยงการใช้ยาสมุนไพร ยาลูกกลอน ยาหม้อต่างๆ กระทั่งยาแผนปัจจุบันต่างๆ ในคนที่เป็นไตวายก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเลือกใช้เพราะอาจส่งผลต่อไตได้

 

งดสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่จะทำให้ได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายมากกว่า 50 ชนิด และทำให้ไตเสื่อมเร็วกว่าปกติ 1.2 เท่า1 นอกจากเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอดแล้ว ยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนคือ ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง ล้วนมีผลต่อไตเช่นกัน

 

หยุดแอลกอฮอล์และสารเสพติด1 เพราะไตและตับต้องขจัดสารพิษออกจากร่างกายหนักขึ้น ดังนั้นควรเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสารเสพติดต่างๆ เช่น แอมเฟตามีน กัญชา ยาไอซ์ ซึ่งสารเหล่านี้จะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดในสมองแตกได้

 

ออกกำลังกาย1 อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ วันละ 30 นาที เริ่มจากการออกกำลังกายง่ายๆ หรือแบบที่ชอบก่อน เช่น เดิน วิ่ง โยคะ ฯลฯ อย่าลืมอบอุ่นร่างกาย 5-10 นาที ยืดกล้ามเนื้อ 5 นาทก่อน จากนั้นออกกำลังกาย 30 นาที และจบด้วยการอบอุ่นร่างกายอีก 5-10 นาที นอกจากช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี ไตก็ได้รับเลือดดีขึ้น ยังช่วยให้มีพลังและลดน้ำหนักด้วย

 

พักผ่อน1 6-8 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูซ่อมแซมตัวเอง หากนอนไม่พออาจทำให้ความดันโลหิตสูงมีผลกระทบต่อการทำงานของไตและสุขภาพองค์รวมให้เสื่อมโทรมลงด้วย

 

 

เมื่อไตป่วย ก็คงต้องปรับและเปลี่ยนตัวเองเพื่อถนอมไตส่วนดีที่เหลืออยู่ให้ไม่เสื่อมลงตามไป ลดโอกาสที่จะต้องฟอกเลือดล้างไตในอนาคตได้

 

 

 

เอกสารอ้างอิง:

1.      สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย[อินเทอร์เน็ต].คู่มือสำหรับประชาชน ทำอย่างไรไตไม่วาย; c2567[สืบค้น 13 ธ.ค.2566].เข้าถึงได้ที่: 2019-03-15-021.pdf (hrh.go.th).

2.      แพทยสภา[อินเทอร์เน็ต].นพ.คณิณ ธรรมาวรานุคุปต์.สมุนไพรช่วยให้ไตแข็งแรงจริงหรือ; c2567[สืบค้น 13 ธ.ค.2566].เข้าถึงได้ที่: tmc_knowlege-174.pdf.

3.      โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ [อินเทอร์เน็ต].สมุนไพรกับผู้ป่วยโรคไต; c2567[สืบค้น 13 ธ.ค.2566].เข้าถึงได้ที่: ความเชื่อเรื่องไตกับสมุนไพร | โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ (siphhospital.com).

 

 

TH.2023.44567.NEP.1 (v1.0) ©2024Abbott

บทความที่เกี่ยวข้อง