ไต...สำคัญแค่ไหนสำหรับเรา ?

ไต...สำคัญแค่ไหนสำหรับเรา ?

Banner
Banner
Banner

ไต...สำคัญแค่ไหนสำหรับเรา ?

ไต เป็นอวัยวะหนึ่งในร่างกายที่สำคัญมากๆ  เพราะหน้าที่ของไตทำงานสัมพันธ์กับระบบต่างๆ ทั่วร่างกาย ถ้าไตทำงานบกพร่องก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพองค์รวม และทำให้เกิดความผิดปกติขึ้นมากมายในร่างกาย โดยธรรมชาติแล้วอวัยวะคนเราจะค่อยๆ เสื่อมลงเองตามอายุ ไตก็เช่นกัน1 แต่ถ้าเป็นโรคเกี่ยวกับไตหรือโรคอื่นๆ ที่ส่งผลให้ไตเสื่อมเร็วกว่าที่ควร1 ย่อมทำให้คุณภาพชีวิตลดลง วิถีการใช้ชีวิตที่คุ้นเคยก็ต้องเปลี่ยนตามไปด้วย

parallax

ไตมีหน้าที่อะไรบ้าง? 

 

  • กรองของเสียในเลือดเพื่อขับทิ้งทางปัสสาวะ1 ถ้าไตทำงานลดลงของเสียก็จะสะสมในร่างกาย เกิดความผิดปกติต่างๆ ตามมา เช่น ซึม เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เกิดภาวะแทรกซ้อนจากยาและสารพิษได้มากขึ้น   

  • ควบคุมสารน้ำและรักษาสมดุลเกลือแร่ กรด-ด่างในร่างกาย1 ปกติไตจะขับกรดทิ้งแล้วเก็บสารด่างคืนสู่ร่างกาย ถ้ามีความผิดปกติของสารน้ำและเกลือแร่อาจนำไปสู่อันตรายที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ 

  • เป็นแหล่งสร้างฮอร์โมนบางชนิด1 ได้แก่ 

    • อีริโทรพอยอิติน (erythropoietin) ที่ช่วยกระตุ้นกาไรสร้างเม็ดเลือดแดงที่ไขกระดูก ถ้าขาดฮอร์โมนนี้ไปจะทำให้มีภาวะโลหิตจางในผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง 
    • เรนิน (renin) ช่วยรักษาระดับความดันโลหิตให้คงที่ ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้อย่างเพียงพอ หากเป็นโรคไตเรื้อรังจะทำให้สร้างเรนินสูงขึ้น จึงเกิดความดันโลหิตสูง เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือเลือดออกในสมองได้ 
    • แคลซิไทรออล (calcitriol) ช่วยควบคุมความสมดุลของแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่ไตและทางเดินอาหาร หากขาดฮอร์โมนนี้จะมีผลต่อความสมบูรณ์ของกระดูก เช่น กระดูกบางเพราะมวลกระดูกน้อยกว่าปกติ และถ้าเกิดในเด็กจะมีผลต่อพัฒนาการความสูง 

 

จะเห็นว่าไตเป็นมากกว่าแค่กลไกการกรองของเสียออกจากร่างกายตามที่เคยทราบกัน แต่ยังมีหน้าที่สำคัญอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับระบบต่างๆ ทั้งความดันโลหิต หัวใจและหลอดเลือด ความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ความสมบูรณ์ของกระดูก ฯลฯ ดังนั้นในคนทั่วไปที่ไตยังปกติดีอยู่ อย่าละเลยการดูแลสุขภาพ ควรใส่ใจถนอมไตให้ปลอดโรคและแข็งแรงตั้งแต่วันนี้ดีที่สุด 

 

เอกสารอ้างอิง: 

 

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย.[อินเทอร์เน็ต].คู่มือสำหรับประชาชน ทำอย่างไรไตไม่วาย; c2567[สืบค้น 29 พ.ย.2566].เข้าถึงได้ที่: 2019-03-15-021.pdf (hrh.go.th). 

  

 

TH.2023.44567.NEP.1 (v1.0) ©2024Abbott 

บทความที่เกี่ยวข้อง