ทำความรู้จักโรคไต

ทำความรู้จักโรคไต

Banner
Banner
Banner

ทำความรู้จักโรคไต

โรคไต คือ ภาวะเสื่อมถอยของกล้ามเนื้อบริเวณไต หรือที่เรียกกันว่า ไตเสื่อม ไตวาย จากรายงานของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย พบว่ามีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังร้อยละ 17.6 ของประชากร หรือปัจจุบันมีจำนวน 8 ล้านคน1 และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากพฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนไป เช่น การกินอาหารฟาสต์ฟู้ด ขนมขบเคี้ยว และอาหารแช่แข็ง  

 

โรคไตแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 

 

  1. โรคไตวายเฉียบพลัน (Acute kidney injury, AKI) 

  2. ภาวะที่ไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งโดยคำว่า “เฉียบพลัน” นอกจากบอกถึงช่วงเวลาระยะสั้น ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว ยังหมายถึงความเป็นไปได้ที่ไตจะกลับสู่ภาวะปกติได้ หากผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม 

  3. โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease, CKD) 

     

โรคไตเรื้อรัง มีสาเหตุมาจากการทำงานของไตเสื่อมถอยอย่างช้า ๆ และต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน โดยเป็นภาวะถาวรและไม่สามารถรักษาให้กลับมาเป็นตามเดิมได้ และเมื่อไตถูกทำลายอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้ 

 

       โรคที่มักนำไปสู่ภาวะไตเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รวมไปถึงการติดเชื้อ และไตอักเสบชนิดต่าง ๆ ยิ่งไปกว่านั้น โรคไตเรื้อรังยังอาจนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดแข็งตามอวัยวะต่าง ๆ ได้อีกด้วย   

โรคไตเรื้อรังมีกี่ระยะ? 

 

ในการวินิจฉัยระยะของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง แพทย์จะอ้างอิงจากค่า ค่าการทำงานของไตหรือค่าอัตราการกรองของเสียของไต (estimated glomerular filtration  rate: eGFR) โดยโรคไตเรื้อรังสามารถแบ่งเป็น 5 ระยะ2 ดังนี้ 

 

 

 

ระยะที่ 1 

 

 

 

 

ภาวะไตเริ่มเสื่อม 

 

 

 

 

ค่าการทำงานของไตประมาณ 90% หรือมากกว่า 

 

 

 

 

ระยะที่ 2 

 

 

 

 

ภาวะไตเสื่อม 

 

 

 

 

ค่าการทำงานของไตประมาณ 60-89% 

 

 

 

 

ระยะที่ 3 

 

 

 

 

ภาวะค่าการทำงานของไตลดลงปานกลาง 

 

 

 

 

ค่าการทำงานของไตประมาณ 30-59% 

 

 

 

 

ระยะที่ 4 

 

 

 

 

ภาวะค่าการทำงานของไตลดลงมาก 

 

 

 

 

ค่าการทำงานของไตประมาณ 15-29% 

 

 

 

 

ระยะที่ 5 

 

 

 

 

ภาวะไตวาย 

 

 

 

 

ค่าการทำงานของไตประมาณ 15% หรือน้อยกว่า 

 

 

  

จะเห็นได้ว่า ค่าการทำงานของไตจะลดลงเรื่อย ๆ ตามระยะของโรค และหากผู้ป่วยเข้าสู่โรคไตระยะสุดท้ายที่ 5 หรือระยะไตวาย ผู้ป่วยต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต (Renal Replacement Therapy) ไม่ว่าจะเป็น การฟอกเลือด การล้างไตผ่านช่องท้อง รวมถึงการเปลี่ยนถ่ายไต2 เพื่อช่วยในการกรองของเสีย และชะลอความรุนแรงของโรค 

 

 อาการโรคไตอะไรบ้าง ที่เป็นสัญญาณเตือนโรคที่สำคัญ 

 

เมื่อร่างกายเกิดภาวะไตเสื่อม ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะยังสามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ จึงมักไม่ได้สังเกตสัญญาณโรคไตที่กำลังเกิดขึ้น โดยอาการโรคไตที่สามารถสังเกตเองได้2 มีดังนี้ 

 

  1. อาการตัวบวม โดยเฉพาะบริเวณช่วงขาไปจนถึงฝ่าเท้า และบริเวณเปลือกตา 

  2. ปัสสาวะผิดปกติ เช่น ปัสสาวะขุ่น ปัสสาวะเป็นฟองเมื่อกดชักโครก ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะน้อยหรือบ่อยผิดปกติ ปัสสาวะเล็ด แสบขัดเมื่อปัสสาวะ  

  3. อาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ตัวซีด ผิวหนังแห้ง และอาจมีภาวะความดันโลหิตสูงร่วมด้วย 

  

การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง 

 

การรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังนั้นจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของโรค เพราะนอกจากจะช่วยชะลอระยะเวลาที่ผู้ป่วยจะเข้ารับการบำบัดทดแทนไตแล้ว ยังช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยอีกด้วย แต่หากการดำเนินของโรคเข้าสู่ในระยะสุดท้ายที่ 5 ต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต 

 

ในปัจจุบัน มีวิธีการรักษาโรคไตเรื้อรังทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่ การฟอกเลือด การล้างไตทางช่องท้อง และการปลูกถ่ายไต เพื่อช่วยทำหน้าที่ทดแทนไตที่เสื่อมสภาพไปแล้วของผู้ป่วย 2 

 

 

เอกสารอ้างอิง: 

1. Panjawara Boonsrangsom เผยสถิติคนไทยติดเค็ม ป่วยโรคไตเรื้อรังกว่า 8 ล้านคน โพสต์วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 ค้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 

2. https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/461 ต้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง