ความเสี่ยงโรคไต ใกล้ตัวใครบ้าง?

ความเสี่ยงโรคไต ใกล้ตัวใครบ้าง?

Banner
Banner
Banner

ความเสี่ยงโรคไต ใกล้ตัวใครบ้าง?

ผู้สูงอายุ  ผู้ที่เป็นโรคอ้วน หรือมีโรคประจำตัวเช่น เบาหวานหรือความดันโลหิตสูง ฯลฯ  ล้วนมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไต!1

 

ทั้งนี้โรคที่เกิดขึ้นกับไตนั้นมีมากมายทั้งที่รักษาหายขาดได้ในเวลาสั้นๆ จนถึงขั้นเป็นโรคไตวายเรื้อรังอันนำไปสู่ปลายทางที่ต้องล้างไตและมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต โดยโรคหลังสุดนี้ถือเป็นโรคยอดฮิตที่พบมากในคนไทยและเพิ่มจำนวนขึ้นทุกปี ตามแนวโน้มพฤติกรรมการกิน การใช้ชีวิตที่ขาดความระมัดระวังด้านสุขภาพ

 

โรคไตวายเรื้อรังมีสาเหตุจากอะไรบ้าง1

parallax
  • ความผิดปกติแต่กำเนิดของไตและทางเดินปัสสาวะ เช่น มีไตข้างเดียว ไตเล็ก การอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ ภาวะปัสสาวะไหลย้อน เป็นต้น

  • การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่รุนแรงหรือติดเชื้อซ้ำๆ หลายครั้ง

  • โรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเกาต์ นิ่วในไต อ้วนรุนแรง โรค SLE ฯลฯ

  • โรคเนื้องอกของไต

  • โรคทางพันธุกรรม เช่น กลุ่มโรคถุงน้ำของไต ไตอักเสบบางชนิด เป็นต้น

  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวดและลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (กลุ่ม NSAIDs) ยาต้านจุลชีพบางชนิด ยาลดความอ้วน สารพิษ ยาสมุนไพรบางชนิด เช่น ไคร้เครือ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม การเป็นโรคใดๆ นั้นหากรู้เร็วรู้ก่อนก็สามารถป้องกัน รักษา หรือลดความรุนแรงของโรคได้ แต่ที่น่าเป็นห่วง คือโรคไตวายถือเป็นภัยเงียบที่ไม่แสดงอาการใดในระยะแรกๆ กว่าจะรู้ตัวก็เข้าสู่ระยะท้ายๆ ดังนั้นการคัดกรองความเสี่ยงจะช่วยให้รู้ได้ก่อน มาดูกันว่าความเสี่ยงโรคไต ใกล้ตัวใครบ้าง?

ผู้ที่มีความเสี่ยงโรคไตวายเรื้อรังที่ควรได้รับการตรวจคัดกรอง2

parallax
  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป

  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่เป็นสาเหตุของโรคไตวายเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

  • ผู้ที่เป็นโรคที่อาจทำให้เกิดพยาธิสภาพที่ไต เช่น โรค SLE โรคหลอดเลือดหัวใจ

  • ผู้ที่เป็นโรคเกาต์ หรือมีระดับกรดยูริกในเลือดสูง

  • ผู้ที่ได้รับสารพิษหรือยาที่ทำลายไต

  • ผู้ที่มีประวัติโรคไตเรื้อรังในครอบครัว

  • ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน

  • ผู้ที่มีมวลเนื้อไตลดลงทั้งที่เป็นมาแต่กำเนิดหรือเป็นภายหลัง

การตรวจคัดกรองเบื้องต้น 3 อย่าง1 ดังนี้

 

parallax
การตรวจผลตรวจที่ปกติ ผลตรวจที่ผิดปกติ
ความดันโลหิต1น้อยกว่า 130/80 มม.ปรอท ในผู้ใหญ่ (เด็ก ค่าอ้างอิงตามอายุ ส่วนสูง เพศ)1มากกว่า 130/80 มม.ปรอท ในผู้ใหญ่ (เด็ก ค่าอ้างอิงตามอายุ ส่วนสูง เพศ)1 
ตรวจวัดระดับของเสียในเลือด คือ ครีอะตินิน1
น้อยกว่า 102 มก./ดล. ในผู้ใหญ่ (เด็ก ค่าอ้างอิงขึ้นกับอายุ)1
มากกว่า 102 มก./ดล. ในผู้ใหญ่ (เด็ก ค่าอ้างอิงขึ้นกับอายุ)1
ตรวจปัสสาวะ1ไม่พบเม็ดเลือด และ/หรือ ตะกอนต่างๆ1พบเม็ดเลือด และ/หรือ ตะกอนต่างๆ1

 

การตรวจคัดกรองเบื้องต้นนี้จริงๆ สามารถตรวจได้ทุกคนแม้ไม่เข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงก็ตาม จากการตรวจสุขภาพประจำปี ซึ่งหากผลการตรวจพบความผิดปกติที่ถือเป็นจุดบอกเหตุเพื่อตรวจหาสาเหตุอื่นๆ ต่อไป...เมื่อรู้ก่อน ย่อมรับมือได้ดีกว่านั่นเอง

เอกสารอ้างอิง:

1. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย[อินเทอร์เน็ต].คู่มือสำหรับประชาชน ทำอย่างไรไตไม่วาย; c2567[สืบค้น 29 พ.ย.2566].เข้าถึงได้ที่: 2019-03-15-021.pdf (hrh.go.th).

2. โรงพยาบาลศิริราช.ปิยะมหาราชการุณย์[อินเทอร์เน็ต].โรคไตเรื้อรัง ไม่ยากเกินเข้าใจ;c2563[สืบค้น 29 พ.ย.2566].เข้าถึงได้ที่: โรคไตเรื้อรัง ไม่ยากเกินเข้าใจ | โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ (siphhospital.com)

TH.2023.44567.NEP.1 (v1.0) ©2024Abbott

บทความที่เกี่ยวข้อง