ทำความรู้จักโรคไตวายเรื้อรัง  5 ระยะ

ทำความรู้จัก
โรคไตวายเรื้อรัง
5 ระยะ

Banner
Banner
Banner

ทำความรู้จักโรคไตวายเรื้อรัง  5 ระยะ

บางคนอาจสงสัยว่าได้รับการวินิจฉัย “เป็นไตวายเรื้อรัง” แต่เอ๊ะ! ... ทำไมไม่เห็นมีอาการอะไรเลย? นั่นก็เป็นเพราะไตวายมีหลายระยะ ซึ่งระยะแรกๆ อาจไม่มีอาการแสดงใดๆ เลยก็เป็นได้

parallax

ไตวายเรื้อรัง1 แบ่งเป็น 5 ระยะโดยสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ตามระดับค่าการทำงานของไต (Estimated Glomerular Filtration Rate – eGFR) ซึ่งเป็นค่าที่ไตสามารถกรองของเสียออกจากเลือดได้ในแต่ละนาที ในคนปกติทั่วไปจะมีค่าการทำงานของไตอยู่ที่มากกว่า 90 มิลลิลิตรต่อนาที1

 

ระยะที่ 1 หมายถึง ไตเสื่อมน้อยที่สุด ไปจนถึงระยะที่ 5 ระยะอันตรายเพราะไตแทบไม่สามารถทำงานได้แล้ว ต้องรักษาด้วยการฟอก/ล้างไต หรือปลูกถ่ายไต อาการต่างๆ จะเริ่มชัดเจนและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะของโรค

ระยะของโรคไตวายเรื้อรัง1

eGFR1 

(มล./นาที/1.73 ตร.ม.)

ระดับการกรองของเสีย 

ที่ลดลงของไต1,2

นิยาม1

ระยะที่ 1>90ไตทำงานปกติแต่พบความผิดปกติอื่นๆ เช่น มีเม็ดเลือด/โปรตีนรั่วในปัสสาวะ อัตราการกรองของเสียยังปกติเริ่มพบความผิดปกติที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง 
ระยะที่ 260-90 มีภาวะไตทำงานผิดปกติ เช่น มีเม็ดเลือด/โปรตีนรั่วในปัสสาวะ อัตราการกรองลดลงเล็กน้อยไตวายเรื้อรังระดับต้น 
ระยะที่3a45-59 อัตราการกรองลดลงเล็กน้อยถึงปานกลางไตวายเรื้อรังระดับปานกลาง 
ระยะที่3b30-44 อัตราการกรองลดลงปานกลางถึงมากไตวายเรื้อรังระดับปานกลาง 
ระยะที่ 415-29 อัตราการกรองลดลงมากไตวายเรื้อรังที่เป็นมาก 
ระยะที่ 5<15อัตราการกรองน้อยกว่าร้อยละ 15ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย 
parallax

การรักษา2 ภาวะไตวายเรื้อรังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นเป้าหมายการรักษาคือชะลอความเสื่อมของไต

 

  • ควบคุมโรคต้นเหตุให้อยู่ในเกณฑ์2 เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมัน น้ำตาลในเลือด เพื่อชะลอความเสื่อมของไต และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
  • ควบคุมอาหาร2 จำกัดปริมาณสารอาหารบางชนิด เช่น ลดอาหารที่มีโซเดียม กินอาหารที่มีโปรตีนอย่างเหมาะสมตามระยะของโรคไตวายเรื้อรัง ควบคุมระดับโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสในอาหารที่ไม่มากเกินไป เป็นต้น
  • รักษาด้วยยา2 เช่น ยาลดการดูดซึมฟอสเฟต ยาขับปัสสาวะ ยารักษาโลหิตจาง ยาปรับสมดุลกรดด่าง ฯลฯ
  • มุ่งเน้นการปรับพฤติกรรม2 เน้นออกกำลังกาย งดสูบบุหรี่ ลดน้ำหนัก เลี่ยงสารที่ส่งผลต่อไต

 

ระยะไตวายเรื้อรังที่ต้องระวังอย่างมาก คือระยะที่ 4-5 เพราะไตเสื่อมสภาพเกือบทั้งหมดแล้ว ทำให้การขับของเสียและรักษาสมดุลน้ำ เกลือแร่ในร่างกายไม่ได้ ต้องรักษาด้วยวิธีบำบัดทดแทนไต หรือที่คุ้นเคยกันคือการฟอกเลือด ล้างไต เพื่อขจัดของเสียที่สะสมในเลือดแทนไต2 ตัวเองที่ไม่สามารถทำงานได้ตามที่ควรจะเป็น

parallax

การรักษาด้วยวิธีบำบัดทดแทนไตมี 3 ทางเลือก2 ได้แก่

  • การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม2 เป็นการนำเลือดออกทางเส้นเลือดผ่านเข้าเครื่องไตเทียมเพื่อกรองของเสียและน้ำส่วนเกิน แล้วนำเลือดที่ฟอกกลับคืนเข้าร่างกาย
  • การล้างไตทางช่องท้อง2 วิธีนี้ต้องใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปทิ้งค้างในช่องท้อง อาศัยเยื่อบุช่องท้องแลกเปลี่ยนของเสียและน้ำส่วนเกินออกมาที่น้ำยาล้างไต เมื่อครบเวลาก็ปล่อยน้ำยาทิ้ง
  • การปลูกถ่ายไต2 คือการนำไตที่ดีจากผู้บริจาคเปลี่ยนให้กับผู้ที่มีไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุด ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

 

ทั้งนี้การเลือกวิธีการรักษาแบบไหน เหมาะกับใคร ก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นอายุ สภาพร่างกายและสุขภาพ สาเหตุของโรคต้นเหตุที่ทำให้ไตวาย โรคร่วมที่เป็นอยู่ด้วย ความสะดวกในการเข้ารับบริการการรักษา และที่สำคัญคือค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาด้วยนั่นเอง

 

อ้างอิง:

1.      สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย.[อินเทอร์เน็ต].คู่มือสำหรับประชาชน ทำอย่างไรไตไม่วาย; c2567[สืบค้น 2 ธ.ค.2566].เข้าถึงได้ที่: 2019-03-15-021.pdf (hrh.go.th).

2.      โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์[อินเทอร์เน็ต].โรคไตเรื้อรังไม่ยากเกินเข้าใจ;c2563 c2567 [สืบค้น 2 ธ.ค.2566].เข้าถึงได้ที่: โรคไตเรื้อรัง ไม่ยากเกินเข้าใจ | โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ (siphhospital.com).

 

TH.2023.44567.NEP.1 (v1.0) ©2024Abbott

บทความที่เกี่ยวข้อง