จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อ “ไตวาย” !?

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อ
“ไตวาย” !?

Banner
Banner
Banner

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อ “ไตวาย” !?

เรามักจะได้ยินคำว่า “ไตวาย” จนชินหู แต่ไม่รู้ว่าเมื่อไตวายจะส่งผลต่อร่างกายมากกว่าแค่ขับของเสียได้น้อยลงจนคั่งอยู่จนตัวบวม แต่ทุกขณะที่ไตเสื่อมลงๆ ย่อมหมายถึงการทำงานที่ผิดปกติมากขึ้นเรื่อยๆ ของร่างกายและเมื่อถึงขั้น “ไตวาย” จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?

parallax

ไตไม่เพียงกรองของเสียออกจากร่างกายเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์สารอาหาร การผลิตฮอร์โมน การเก็บและขับสารบางตัว และควบคุมน้ำ ดังนั้นเมื่อเกิดไตวายจะทำให้สมดุลสารอาหารหลายชนิดในร่างกายเสียไป1 เช่น

 

  • การสังเคราะห์และการปรับระดับน้ำตาลในเลือดลดลง1 ดังนั้นหากคนที่เป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลง หรือผู้ที่ฉีดอินซูลินอยู่อาจพบปัญหาระดับน้ำตาลในเลือดต่ำได้ง่ายกว่าคนที่เป็นเบาหวานแต่ยังไม่เป็นโรคไต

  • การสังเคราะห์กรดอะมิโนลดลง1 และเสียโปรตีนไข่ขาวไปกับปัสสาวะมากขึ้น ร่างกายจึงมีโอกาสขาดกรดอะมิโนจำเป็นมากขึ้น

  • ของเสียที่เกิดขึ้นในร่างกาย ไม่ถูกขับทิ้ง1 เช่น สารไนโตรเจนจากโปรตีนที่กินเข้าไป จะเกิดการคั่งอยู่ในเลือด เมื่อสะสมมากขึ้นๆ จะทำให้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารและอ่อนเพลีย

  • การสังเคราะห์วิตามินดีในเลือดลดต่ำลง1 มีซึ่งจะผลต่อแคลเซียมในกระดูก

  • ร่างกายเป็นกรดมากขึ้น1 ทำให้โปรตีนในกล้ามเนื้อถูกย่อยสลายได้ง่ายขึ้น

  • หากไตขับน้ำได้ไม่ดี1 จะปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน และปัสสาวะลดลง เกิดการคั่งของน้ำและของเสียในร่างกาย

  • ความดันโลหิตสูงขึ้น1 เพราะร่างกายขับเกลือโซเดียมออกไม่ได้

  • มีโพแทสเซียมสะสมสูง1 จากการกินผัก ผลไม้แล้วไตขับออกไม่ได้ จะมีผลต่อระบบหัวใจ เต้นไม่เป็นจังหวะหรือหยุดเต้น

 

ดังนั้นเมื่อสารอาหารไม่สมดุลจะส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ในร่างกายนำไปสู่ความเสี่ยงมากมาย2 เช่น

 

  • ร่างกาย2 อ่อนเพลีย อ่อนแรง อิดโรย เหนื่อยง่าย หงุดหงิดง่าย ซูบผอม น้ำหนักลดลง แต่ก็อาจมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้จากการที่น้ำและของเสียคั่งในร่างกายมากจนตัวบวม

  • ระบบผิวหนัง2 ซีด มีจ้ำเลือดเกิดขึ้นง่าย ผิวหนังแตกแห้ง เป็นแผลแล้วหายช้า หรือตกสะเก็ดดำคล้ำกว่าปกติ

  • ระบบทางเดินอาหาร2  จะเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปากขม ไม่สามารถรับรสได้ สะอึก ปวดท้อง ท้องเดิน เลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ และเป็นแผลในกระเพาะและลำไส้

  • ระบบหัวใจและการหายใจ2 เมื่อการขับปัสสาวะและเกลือแร่ได้น้อยลงจนบวมน้ำ หัวใจจะทำงานหนักขึ้นจึงเหนื่อยง่าย นอนราบแล้วหายใจลำบาก ความดันโลหิตสูง หัวใจโต กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมสภาพ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ อาจเกิดน้ำคั่งในเยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ปอดบวม หายใจไม่ออก ไอเป็นเลือด

  • ระบบประสาท สมองและกล้ามเนื้อ2 มีอาการปลายประสาทเสื่อม ทำให้มือเท้าชา ปวดหลังบริเวณบั้นเอว กล้ามเนื้อกระตุก เป็นตะคริวและกล้ามเนื้ออ่อนแรง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ขาดสมาธิ สมองเสื่อม

  • ระบบกระดูก2 เนื่องจากไตสูญเสียหน้าที่ในการสังเคราะห์วิตามินดีทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ จึงเกิดภาวะกระดูกพรุน แตกหักง่าย

  • ระบบทางเดินปัสสาวะ2 จะทำให้ปัสสาวะบ่อยแต่ออกน้อย มีสีจาง

  • ระบบโลหิต2 จากฮอร์โมนอีริโทรพอยอิตินที่สร้างจากเนื้อไตได้ลดลง จึงช่วยกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง ทำให้มีภาวะเลือดจางและการทำงานของเกล็ดเลือดผิดปกติ

  • ระบบภูมิต้านทานโรค2 ภูมิต้านทานโรคต่ำลง ซึ่งเป็นสาเหตุให้ติดเชื้อได้ง่าย

 

ดังนั้นเมื่อไตเป็นอวัยวะที่ไม่ต่างกับศูนย์กลางสร้างสัมพันธ์ให้ระบบต่างๆ ทำงานได้อย่างราบรื่นเป็นปกติ เมื่อไตเสื่อมสู่ขั้นไตวายร่างกายจึงเสียสมดุลจนทำให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย

 

เอกสารอ้างอิง:

  1. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย[อินเทอร์เน็ต].คู่มือสำหรับประชาชน ทำอย่างไรไตไม่วาย; c2567[สืบค้น 10 ธ.ค.2566].เข้าถึงได้ที่: 2019-03-15-021.pdf (hrh.go.th).
  2. Rama Channel[อินเทอร์เน็ต].รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ.ไตวายเรื้อรัง จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น ?; c2566[สืบค้น 11 ธ.ค.2566] .เข้าถึงได้ที่: ไตวายเรื้อรัง จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น ? - รามา แชนแนล (mahidol.ac.th).

TH.2023.44567.NEP.1 (v1.0) ©2024Abbott

บทความที่เกี่ยวข้อง