การรักษาโรคไต

ภาวะขาดสารอาหารแบบก้าวกระโดด

Banner
Banner
Banner

ภาวะขาดสารอาหารแบบก้าวกระโดด

ภาวะขาดสารอาหารแบบก้าวกระโดด ปัญหาสำคัญในผู้ป่วยล้างไต

 

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมักมีปัญหาขาดสารอาหารเนื่องจากจำเป็นต้องดูแลเรื่องอาหารการกินอย่างเคร่งครัด เช่น งดกินอาหารรสเค็ม หวาน มัน เพื่อไม่ให้โรคไตและโรคร่วมอื่น ๆ ที่เป็นอยู่ เช่น โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงแย่ลง รวมถึงภาวะเบื่ออาหาร ที่เกิดจากการที่ผู้ป่วยมีของเสียคั่งอยู่ในร่างกายจากสภาวะโรค

 

ยิ่งระยะของโรคมากขึ้นเท่าไหร่ อัตราการเกิดภาวะขาดสารอาหารในผู้ป่วยก็ยิ่งมากขึ้น1-4

 

ระยะของโรคไตมีผลต่อการเกิดภาวะขาดสารอาหารในผู้ป่วย มีผลวิจัยพบว่า ยิ่งระยะของโรคมากขึ้นเท่าไหร่ อัตราการเกิดภาวะขาดสารอาหารในผู้ป่วยยิ่งมากขึ้นตาม

 

โดยผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 หรือระยะที่จำเป็นต้องได้รับการล้างไต มีโอกาสเกิดภาวะขาดสารอาหารได้มากถึง 75% ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดเมื่อเทียบกับผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 1-4 โดยอัตราเสี่ยงในระยะดังกล่าวมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ไม่เกิน 50%

ทำไมผู้ป่วยล้างไตถึงเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดสารอาหารแบบก้าวกระโดด

 

ภาวะขาดสารอาหารในผู้ป่วยล้างไตมีสาเหตุมาจากการสูญเสียโปรตีน และพลังงานจำนวนมากระหว่างการขับของเสียขณะบำบัดล้างไต ไม่ว่าจะด้วยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือล้างไตผ่านช่องท้องก็ตาม รวมถึงปัจจัยจากสาเหตุอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาการของโรค ได้แก่ 5-8

 

  1. การเผาผลาญพลังงานที่มากกว่าปกติ

  2. ข้อจำกัดในการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคไต 

  3. ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารได้เพียงพอ เนื่องจากภาวะอาการเบื่ออาหาร ซึ่งเป็นผลข้างเคียงของการรักษา และข้อจำกัดในการรับประทานอาหาร

  4. ภาวะดื้อต่อฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต ทำให้ร่างกายสร้างโปรตีนได้น้อยลง 

     

ผลกระทบจากภาวะขาดสารอาหารในผู้ป่วยล้างไต

 

เมื่อผู้ป่วยที่ต้องล้างไตมีภาวะขาดสารอาหาร โดยเฉพาะภาวะสูญเสียโปรตีนและพลังงานเกิดขึ้น ผลกระทบต่าง ๆ ต่อผู้ป่วยที่อาจจะตามมา คือ

 

  • สุขภาพอ่อนแอ เสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่ายขึ้น

  • อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 

  • ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบ่อยขึ้น

  • เป็นอุปสรรคต่อการรักษาตัวของผู้ป่วย 

  • มวลกล้ามเนื้อและมวลไขมันลดลง

  • จะเห็นได้ว่า ภาวะขาดสารอาหารส่งผลเสียต่อผู้ป่วยล้างไตอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ การดูแลโภชนาการในผู้ป่วยล้างไตให้สมบูรณ์พร้อม จึงเป็นปัจจัยการรักษาสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ 

 

เอกสารอ้างอิง:

1. CKD patient (MY: BERNAMA 2017, VN: ISN News 61 May 2017, TH&PH: Abbott Nepro foundation building deck p.13, SG: Singapore Renal Registry Annual Report 2016)

2. Stratton RJ, et al. Am J Kidney Dis. 2005; 46(3):387–405. 

3. Fouque D, et al. Nephrol Dial Transplant. 2008; 23(9):2902–10.

4. National Kidney Foundation [Internet]. Available from: https://www. kidney.org/atoz/content/gfr 

5. Carrero JJ, et al. J Ren Nutr. 2013;23(2):77-90.

6. Chung S, et al. Open J Inter Med. 2012;2:89-99. 

7. Ikizler TA, et al. Am J Kidney Dis. 2020;76(3 Suppl 1):S1-S107.

8. Friedman AN, et al. J Am Soc Nephrol. 2010;21(2):223-30. 

บทความที่เกี่ยวข้อง