โภชนาการสำหรับผู้ป่วยล้างไต

โภชนาการสำหรับ
ผู้ป่วยล้างไต

Banner
Banner
Banner

โภชนาการสำหรับผู้ป่วยล้างไต

รู้หรือไม่ว่า ประมาณ 3 ใน 4 หรือ 75% ของผู้ป่วยล้างไตจะพบภาวะขาดสารอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โปรตีนและพลังงาน เนื่องจากผู้ป่วยล้างไต มักพบว่ามีของเสียคั่งอยู่บริเวณไต จึงทำให้เกิดภาวะอาการเบื่ออาหาร ทานข้าวได้น้อย รวมถึงการสูญเสียโปรตีนในระหว่างการล้างไต ก็เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ป่วยเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหารอีกด้วย1

 

ดังนั้น สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญที่สุดในการดูแลผู้ป่วยโรคไต คือ โภชนาการที่สมบูรณ์ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่จำเป็นครบตามความต้องการ จึงมีส่วนช่วยเพิ่มความแข็งแรง ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน และลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้

 

ข้อแนะนำด้านโภชนาการสำหรับผู้ป่วยล้างไต

 

ผู้ป่วยโรคไตที่ต้องรับการล้างไต ควรรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการสำหรับผู้ป่วยล้างไตอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะขาดสารอาหาร และเพื่อบำรุงร่างกายให้แข็งแรง

 

คำแนะนำข้อมูลโภชนาการที่เหมาะสมกับผู้ป่วยล้างไต5 ไม่ว่าจะด้วยวิธีการฟอกเลือด หรือล้างไตทางช่องท้อง ต้องดูแลร่างกาย ดังนี้

 

1. เสริมโปรตีน

ผู้ป่วยล้างไต จำเป็นต้องเสริมโปรตีนมากกว่าผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ยังไม่ล้างไต เพราะมีการสูญเสียกรดอะมิโนออกไปในช่วงกระบวนการล้างไต สำหรับอาหารที่มีโปรตีนสูงและเป็นโปรตีนคุณภาพดี ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ควรเลือกชนิดไม่ติดมัน และไข่ขาว แนะนำควรรับ ประทานโปรตีน วันละ 1-1.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กก.2 เช่น หากคุณน้ำหนักตัว 50 กก. ต้องได้รับโปรตีนอย่างน้อย 50 กรัมต่อวัน เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

 

  • เนื้อ (ปลา หมู วัว) 1 ขีด (100 กรัม) ให้โปรตีนประมาณ 20 กรัม

  • ไข่ขาว 1 ฟอง ให้โปรตีนประมาณ 3.5 กรัม

 

ดังนั้น ถ้าต้องได้รับโปรตีนอย่างน้อย 50 กรัม ต้องทานเนื้อไก่ ประมาณ 2.5 ขีด หรือ ไข่ขาว ประมาณ 14 ฟอง ต่อวัน

 

2. เสริมพลังงาน

แนะนำผู้ป่วยล้างไตเสริมอาหารประเภทไขมันเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูงให้เพียงพอต่อความต้องการ เพื่อไม่ให้ร่างกายต้องดึงโปรตีนมาเผาผลาญเป็นพลังงาน จนไม่เหลือโปรตีนไว้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและกระตุ้นการเจริญเติบโต โดยปริมาณพลังงานสำหรับผู้ป่วยล้างไต ควรได้รับวันละ 30-35 กิโลแคลอรี ต่อน้ำหนักตัว 1 กก.2 เช่น หากคุณน้ำหนักตัว 50 กก. ต้องได้รับพลังงานวันละ 1,750 กิโลแคลอรี

 

เนื่องจากผู้ป่วยล้างไต มักมีไขมันในเลือดสูงร่วมด้วย จึงต้องเลือกน้ำมันชนิดที่ดีที่ไม่เพิ่มไขมันตัวร้าย (LDL-Cholesterol) ให้กับร่างกาย5

3. ควบคุมปริมาณเกลือแร่ เช่น โซเดียม โพแทสเซียม และ ฟอสฟอรัส ให้ได้รับในปริมาณที่เหมาะสม

 

4. ควบคุมปริมาณน้ำ เนื่องจากผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง มักมีปัญหาบวมน้ำร่วมด้วย จึงต้องควบคุมปริมาณน้ำที่ได้รับต่อวันอย่างเหมาะสม ซึ่งควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์

 

5. ควรได้รับวิตามินบางชนิดเพิ่ม โดยเฉพาะวิตามินชนิดที่ละลายในน้ำ เช่น วิตามินบีต่าง ๆ และกรดโฟลิก เนื่องจากร่างกายจะมีการสูญเสียวิตามินเหล่านี้ทางน้ำยาที่ใช้ในการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และมักได้รับวิตามินเหล่านี้ปริมาณน้อยลง เนื่องจากการถูกจำกัดการรับประทานผักและผลไม้ ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงวิตามินเอ เนื่องจากจะมีการสะสมในร่างกายทำให้เกิดพิษได้

 

ภาวะเบื่ออาหาร ทานข้าวได้น้อย ปัญหาสำคัญในผู้ป่วยล้างไต

 

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยโรคไตไม่สามารถรับประทานอาหารได้ครบถ้วนตามคำแนะนำด้านโภชนาการ คือ ภาวะอาการเบื่ออาหารจากสภาวะโรค ข้อจำกัดในการรับประทานอาหารของผู้ป่วย และสภาพจิตใจที่หดหู่ ท้อแท้ ส่งผลให้ทานอาหารได้น้อยลง รวมไปถึงการสูญเสียพลังงานและโปรตีนจำนวนมากในขณะที่ฟอกไต

 

เมื่อไหร่ก็ตามที่ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ไม่เพียงพอตามข้อแนะนำ แพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารทางการแพทย์3 โดยเฉพาะอาหารทางการแพทย์สูตรสำหรับผู้ป่วยล้างไต เสริมจากอาหารมื้อหลัก เพราะอาหารทางการแพทย์สูตรสำหรับผู้ป่วยล้างไต เป็นสูตรที่ให้พลังงานควบคู่กับมีปริมาณโปรตีนที่สูง ซึ่งตรงตามข้อแนะนำ ปริมาณเกลือแร่และน้ำก็ถูกควบคุมให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยล้างไต จึงมีส่วนช่วยบรรเทาภาวะขาดสารอาหารในผู้ป่วยล้างไต ช่วยให้ภาวะโภชนาการของผู้ป่วยดีขึ้น ส่งเสริมผลให้ผู้ป่วยมีความแข็งแรงและช่วยให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

 

 

เอกสารอ้างอิง:

1. Carrero JJ, et al. J Ren Nutr. 2013;23(2):77-90.

2. Clinical Practice Recommendation for Nutritional Management in Adult Kidney Patients 2018

3. Ikizler TA, et al. Am J Kidney Dis. 2020;76(3 Suppl 1):S1-S107.

บทความที่เกี่ยวข้อง