รับมือกับเบาหวาน แบบไม่เครียด 

วิธีรับมือให้เบาหวาน เบาใจ

Banner
Banner
Banner

“รักษาเบาหวานให้ได้ผลดี – ต้องเริ่มให้ถูกวิธี”  

เริ่มที่มีความรู้เรื่องโรคเบาหวานที่ถูกต้อง และสร้างแรงจูงใจ

ต้องหมั่นศึกษา อัปเดตข้อมูล รวมถึงสร้างแรงจูงใจการดูแลโรคด้วยตนเอง  แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคเบาหวานให้หายขาด แต่เราสามารถควบคุมให้อาการไม่รุนแรงและใช้ชีวิตอย่างสงบสุขได้ หรือเรียกว่า เข้าสู่ เบาหวานระยะสงบ (diabetes remission) หากคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือค่าระดับน้ำตาลสะสม (A1C) <6.5% ได้ต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือนติดต่อกันโดยไม่ใช้ยา1
“การหยุดกินยารักษาทั้งหมดในคราวเดียวค่อนข้างจะเป็นเรื่องยาก แต่ผู้ป่วยหลาย ๆ คน ที่ตั้งใจปฏิบัติตามแผนการรักษาที่คุณหมอแนะนำ จนสามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ก็จะช่วยลดชนิดและปริมาณยาลงได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป เพียงเท่านี้ก็ถือเป็นกำลังใจแก่ทั้งตัวผู้ป่วยและคุณหมอแล้ว”

เริ่มปรับการกิน

จริง ๆ แล้ว อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานคล้ายกับอาหารทั่วไป เพียงแค่เลือกกินอาหารที่ “ลดมัน ลดแป้ง ลดหวาน เน้นอาหารกากใยสูง” อ่านต่อเรื่อง “เป็นเบาหวาน กินอาหารอย่างไร?” คลิก https://www.family.abbott/th-th/glucerna/managing-diabetes-tools-and-guides/diabetes-treatment/diabetes-eating-guide.html

-      พูดคุยกับนักโภชนาการเพื่อวางแผนมื้ออาหารที่เหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย1 นักโภชนาการจะช่วยแนะนำเมนูที่ผู้ป่วยสามารถกินได้และไม่จำเจ ต้องมีส่วนประกอบอะไรบ้างถึงจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน ปริมาณต่อมื้อพอเหมาะ และพิจารณาร่วมกับปัจจัยของผู้ป่วย เช่น แพ้อาหารหรือไม่ ความชอบ-ไม่ชอบส่วนตัว ส่วนประกอบที่ไม่มีในพื้นที่นั้นหรืออาหารประจำถิ่นตามภูมิลำเนา

-          กินอาหารทางการแพทย์สูตรเบาหวาน1 (อาหารทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน) ภายใต้คำแนะนำของคุณหมอหรือนักโภชนาการ ก็เป็นอีกทางเลือกที่จะมาช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งอาหารประเภทนี้ถูกพัฒนาให้มีปริมาณและสัดส่วนสารอาหารต่อมื้อครบถ้วน แต่จำกัดพลังงาน ดังนั้นผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือมีโรคอ้วนก็ดื่มทดแทนอาหารบางมื้อเพื่อช่วยคุมน้ำหนักตัวได้ หากผู้ป่วยที่มีภาวะขาดสารอาหารหรือน้ำหนักตัวน้อย ให้ดื่มอาหารทางการแพทย์เสริมจากอาหารมื้อหลักได้ อ่านต่อเรื่อง “อาหารทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน” คลิก  https://www.family.abbott/th-th/glucerna/managing-diabetes-tools-and-guides/diabetic-meal-substitutes/what-is-diabetic-meal-substitute.html

เริ่มออกกำลังกาย1:

อย่าอยู่นิ่งเฉย หรือท่าเดิมเป็นเวลานาน ขยับตัว หรือยืดเหยียดบ้าง ผู้ป่วยเบาหวานแต่ละช่วงอายุสามารถออกกำลังกายได้1 ดังนี้

-          ผู้ใหญ่: ออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ และออกกำลังกายแบบแรงต้าน 2–3 ครั้งต่อสัปดาห์

-          ผู้สูงอายุ: ฝึกความยืดหยุ่นและการทรงตัว 2–3 ครั้งต่อสัปดาห์ เช่น โยคะ ไทชิ

เริ่มใช้ยา:

เมื่อระดับน้ำตาลไม่ลดลงตามเป้าหมายหลังจากปรับไลฟ์สไตล์ระยะหนึ่งแล้ว คุณหมอจะพิจารณายา (จากกลไกการออกฤทธิ์) ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย เช่น กระตุ้นให้ร่างกายหลั่งอินซูลิน ลดการดื้ออินซูลิน ลดการดูดซึมน้ำตาล หรือเพิ่มการขับน้ำตาลออกจากร่างกาย1

นอกจากนี้ควรหลับพักผ่อนให้สนิท เป็นเวลา 7–9 ชั่วโมงต่อคืน และ เลี่ยงปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ได้แก่ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เลิกบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า และยาสูบอื่น ๆ และ ตรวจร่างกายสม่ำเสมอ เพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคหรือภาวะแทรกซ้อน โรคแทรกซ้อนที่มักเกิดในผู้ป่วยเบาหวาน เช่น ตา ไต หลอดเลือดหัวใจและสมอง หรือปลายมือปลายเท้า1

 

#แนวทางการรักษาเบาหวานล่าสุด #วิธีรักษาเบาหวาน #บทบาทโภชนบำบัด #คนไข้เบาหวาน #วิธีลดน้ำตาลในคนท้อง

เอกสารอ้างอิง

1. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2566. 1st ed. ศรีเมืองการพิมพ์; 2566.

บทความที่เกี่ยวข้อง