รู้จักโรคเบาหวานชนิดต่างๆ 

เช็คความเสี่ยง          เบาหวาน

Banner
Banner
Banner

เช็คความเสี่ยงเบาหวาน (diabetes risk screening)

 
อาการที่ต้องสงสัยเมื่อมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

อาการผิดปกติต่อไปนี้ อาจเกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน1

-          ปัสสาวะบ่อย

-          หิวน้ำ

-          น้ำหนักลด

-          คลื่นไส้ อาเจียน

-          หากรุนแรงอาจมีอาการสับสน หมดสติ หรือชักได้

 
ปัจจัยเสี่ยงและภาวะก่อนเบาหวาน

ผู้ป่วยสามารถประเมินความเสี่ยงเบาหวานได้จากปัจจัยต่อไปนี้ หากตรงกับข้อใดข้อหนึ่ง ให้ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (fasting plasma glucose; FPG) เพื่อคัดกรองเบาหวานต่อไป2

-          ปัจจัยที่แก้ไขไม่ได้ เช่น อายุเกิน 35 ปี หรือมีคนในครอบครัวเป็นเบาหวาน

-          ปัจจัยที่แก้ไขได้ เช่น อ้วน

-          ปัจจัยเสี่ยงร่วม เช่น มีโรคประจำตัว หรือเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

 

สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะก่อนเบาหวาน (pre-DM) à หากค่า FPG อยู่ระหว่าง 100–125 มก./ดล. (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) ควรตรวจระดับน้ำตาลและประเมินความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงปรับไลฟ์สไตล์การกินและหมั่นออกกำลังกาย เพื่อวางแผนป้องกันการเป็นเบาหวานหรือโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ2

 

“คุณมีความเสี่ยงโรคเบาหวานหรือไม่?” ประเมินความเสี่ยงตอนนี้ คลิก https://www.family.abbott/th-th/glucerna/managing-diabetes-tools-and-guides/tools-to-help-manage-diabetes/diabetes-risk-quiz.html

การตรวจสุขภาพเพื่อติดตามก่อนเป็นเบาหวาน (preventive monitoring check-up)2

·      มีอายุน้อยกว่า 35 ปี

-          ผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง ให้ประเมินความเสี่ยงทุก 5 ปี

-          ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง และค่า FPG น้อยกว่า 100 มก./ดล. ให้ประเมินทุก 3 ปี

-          ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง และค่า FPG ตั้งแต่ 100 มก./ดล. ขึ้นไป ถือว่าเสี่ยงสูง ให้ปฏิบัติตามคนอายุ 35 ปีขึ้นไป

·      มีอายุ 35 ปีขึ้นไป พิจารณาตามผล FPG (รูปที่ 1)

*OGTT (oral glucose tolerance test) คือ การทดสอบความทนกลูโคสโดยตรวจเลือดหลังจากดื่มน้ำตาลกลูโคส
รูปที่ 1 คำแนะนำการตรวจค่า FPG ในคนที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป
(ที่มา: สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2566. 2566.)

เมแทบอลิกซินโดรมและโรคร่วมอื่น ๆ 

เบาหวานและเมแทบอลิกซินโดรม (หรือภาวะที่ระบบเผาผลาญของร่างกายผิดปกติ) ต่างเป็นปัจจัยเสี่ยงซึ่งกันและกัน อีกทั้งเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคร่วมอื่น ๆ3 เช่น

-          อ้วน2: ดัชนีมวลกาย (BMI) ไม่ต่ำกว่า 25 กก./ตร.ม. และ/หรือเส้นรอบเอวไม่ต่ำกว่า 90 ซม.ในผู้ชาย หรือไม่ต่ำกว่า 80 ซม.ในผู้หญิง หรือเส้นรอบเอวมากกว่าส่วนสูงหารด้วย 2

-          ความดันโลหิตสูง4: ระดับความดันโลหิตไม่ต่ำกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท3 หรือได้รับยารักษา

-          ไขมันในเลือดสูง5: ระดับไขมันไม่ดี หรือ LDL-C (low-density lipoprotein cholesterol) มากกว่า 100 มก./ดล. หรือระดับไตรกลีเซอไรด์ไม่ต่ำกว่า 200 มก./ดล. ร่วมกับระดับไขมันดี หรือ HDL-C (high-density lipoprotein cholesterol) ไม่เกิน 35 มก./ดล.

 

เริ่มได้ด้วยตัวเอง  “เลือกกินอาหาร & ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ”

 

“หากเสี่ยงอย่ารอ ต้องเริ่มเลย ปรับอาหารด้วยอาหารทดแทนสูตรสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

#สาเหตุเบาหวาน #เบาหวานในคนท้อง #โคเลสเตอรอล #คอเลสเตอรอล

เอกสารอ้างอิง

1.              คนเป็นเบาหวาน อาการแบบไหนอันตราย!. (ออนไลน์).

2.              สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2566. 1st ed. ศรีเมืองการพิมพ์; 2566.

3.              Elsayed NA, Aleppo G, Aroda VR, et al. 2. Classification and Diagnosis of Diabetes: Standards of Care in Diabetes—2023. Diabetes Care. 2023;46:S19-S40. Doi:10.2337/dc23-S002.

4.              สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. 1st ed. ทริค ธิงค์; 2562.

5.              สมาคมโรคหลอดเลือดแดงแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติการใช้ยารักษาภาวะไขมันผิดปกติเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด พ.ศ. 2559. 1st ed. เอ-พลัส พริ้น;2560.

บทความที่เกี่ยวข้อง