ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia)

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

สาเหตุและอาการ

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (หรือภาวะน้ำตาลสูง) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายของเราจะมีปริมาณน้ำตาลกลูโคสในเลือดมากกว่าปกติ1

กลูโคส = น้ำตาลที่มีขนาดโมเลกุลเล็กที่สุดที่ได้จากการย่อยอาหารประเภทแป้งและอาหารที่มีรสหวาน

 

เมื่อน้ำตาลในเลือดสูงแล้ว ร่างกายของเราก็จะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมาเพื่อรักษาระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดให้กลับไปเป็นปกติ2

น้ำตาลในเลือดจะสูงได้มาจากหลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรม ความเจ็บป่วย พฤติกรรมการกินและออกกำลังกายเปลี่ยนไป รวมถึงมีฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอหรือร่างกายดื้ออินซูลิน (สาเหตุของโรคเบาหวาน) เมื่อน้ำตาลในเลือดสูงจะทำให้มีอาการกระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย เหนื่อยง่าย มองเห็นไม่ชัด น้ำหนักลด และแผลหายช้า1

ค่าระดับน้ำตาลในเลือด 

โดยทั่วไปคุณหมอจะคัดกรองและวินิจฉัยโรคเบาหวาน3 ทำได้โดยวัดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. ค่าน้ำตาลทั่วไป

a. ตรวจตัวอย่างเลือดจากคนที่อดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เรียกว่า fasting plasma glucose (FPG)

b. ทดสอบความทนกลูโคส โดยจะตรวจเลือดหลังจากดื่มน้ำตาลกลูโคส เรียกว่า oral glucose tolerance test (OGTT)

 2. ค่าน้ำตาลสะสม

c. ตรวจปริมาณน้ำตาลที่จับกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง (HbA1C หรือ A1C) การตรวจนี้จะบอกพฤติกรรมและความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยย้อนหลัง 2–3 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ช่วยวางแผนการรักษาที่เหมาะสมได้

คำเตือน เมื่อค่า A1C สูงเกินมาตรฐาน อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคเบาหวานหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ

มาดูค่าระดับน้ำตาลแต่ละประเภทที่ช่วยวินิจฉัยภาวะต่าง ๆ (ตารางที่ 1)

สถานะ

 

 

ค่าระดับน้ำตาล

การคัดกรองและวินิจฉัย

ปกติ

ภาวะก่อนเบาหวาน

โรคเบาหวาน

ระดับน้ำตาลขณะอดอาหารผิดปกติ

ความทนต่อน้ำตาลบกพร่อง

ขณะอดอาหารตอนเช้า (FPG)

<100 มก./ดล.

100–125 มก./ดล.

-

≥126 มก./ดล.

2 ชั่วโมงหลังดื่มกลูโคส (OGTT)

<140 มก./ดล.

-

140–199 มก./ดล.

≥200 มก./ดล.

ที่เวลาใด ๆ ในผู้ที่อาการชัดเจน

-

-

-

≥200 มก./ดล.

ระดับน้ำตาลสะสม (A1C)

<5.7%

5.7–6.4%

≥6.5%

ตารางที่ 1 เกณฑ์วินิจฉัยและควบคุมโรคเบาหวานตามค่าระดับน้ำตาลในเลือด (มก./ดล. หรือ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร)

(ที่มา: สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2566. 1st ed.
ศรีเมืองการพิมพ์; 2566.) 

การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด4 (Blood Glucose Control)

หากคุณหมอพบว่าผู้ป่วยมีภาวะก่อนเบาหวาน ก็ควรลดค่าระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร (FPG) ให้ต่ำกว่า 100 มก./ดล. หรือค่าระดับน้ำตาลสะสม (A1C) ต่ำกว่า 5.7% เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเบาหวานในอนาคต3 แต่สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมายก่อน เพื่อลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา5,6 (ตารางที่ 2)

การควบคุมเบาหวาน

เป้าหมาย

(ควบคุมเข้มงวด)

ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร

80–130 มก./ดล.

ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 2 ชั่วโมง

-

ระดับน้ำตาลในเลือดสูงสุดหลังอาหาร

<180 มก./ดล.

A1C (เปอร์เซ็นต์ของฮีโมโกลบินทั้งหมด)

<7.0%

*อย่างไรก็ตาม เป้าหมายระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นอยู่กับสภาวะร่างกายของผู้ป่วย โรคร่วม และ/หรือโรคแทรกซ้อน เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมถึงเป้าหมายระดับน้ำตาลในเลือด และตรวจติดตามต่อเนื่อง

ตารางที่ 2 เป้าหมายการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
(ที่มา: สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2566. 1st ed. ศรีเมืองการพิมพ์; 2566.)

 

นอกจากการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจะช่วยชะลอการเกิดโรคเบาหวานแล้ว ยังช่วยลดความแปรปรวนของระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างวันได้  หากเกิดความแปรปรวนมากไป จะส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลต่ำหรือสูงที่อันตรายต่อสุขภาพมาก ๆ โดยเฉพาะภาวะน้ำตาลต่ำที่อาจรุนแรงถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยหมดสติได้7 ดังนั้น เพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงจากความแปรปรวนดังกล่าว ทุกท่านควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพื้นฐาน ดังนี้

1.  การกินอาหาร เน้นอาหารที่ทำจากธัญพืชไม่ขัดสี ถั่ว ผัก เนื้อปลา เต้าหู้ แบ่งกินมื้อเล็ก ๆ หลายมื้อตลอดทั้งวัน เลี่ยง-ลด-งดอาหารรสหวาน ปัจจุบัน มีอาหารทดแทนสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สะดวกจัดหาอาหารเพื่อสุขภาพที่เหมาะสม (อาหารทดแทน 1 แก้วแทนอาหาร 1 มื้อ) มีผลการศึกษาว่า อาหารทดแทนสำหรับผู้ป่วยเบาหวานมีส่วนช่วยลดความแปรปรวนของระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างวัน เมื่อใช้ต่อเนื่อง 30 วัน และช่วยลดค่าน้ำตาลสะสม เมื่อใช้ต่อเนื่อง 6 เดือน8,9
*ร่วมกับการรับประทานอาหารหลักให้หลากหลายครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อาหารทางการแพทย์ ต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์

อ่านต่อเรื่อง “เป็นเบาหวาน กินอาหารอย่างไร?” คลิก [ลิงก์ topic 1]

2.  อย่าอยู่นิ่งเป็นเวลานาน ๆ ควรหาเวลายืดเส้นยืดสาย เริ่มจากกิจวัตรประจำวัน เช่น เดินขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟต์ ออกกำลังกายเป็นประจำ (แต่ไม่หักโหม) อย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์

3.  ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมอาหารและออกกำลังกายร่วมกับการใช้ยา อาจเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ (hypoglycemia) ฉับพลัน ได้แก่ อาการใจสั่น มือสั่น เหงื่อออก หน้ามืด ตาลาย หรือหมดสติ หากรุนแรงอาจอันตรายถึงชีวิตได้ แนะนำให้พกน้ำหวานหรือลูกอมติดตัวไว้ เพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดได้ทันที

4.  ผู้ป่วยสามารถตรวจระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตนเองจากการเจาะปลายนิ้ว (self-monitoring of blood glucose) ซึ่งช่วยให้คุณหมอประเมินและปรับแผนการรักษาที่เหมาะสม นอกจากนี้ ควรตรวจสายตาทุกปี เพราะระดับน้ำตาลที่สูง อาจส่งผลกับสายตาและการมองเห็นได้

#สาเหตุน้ำตาลสูง #อาการน้ำตาลสูง #คนไข้เบาหวาน #ตรวจน้ำตาล #น้ำตาลในเลือดต่ำ #ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม #เกณฑ์ระดับน้ำตาล #ภาวะก่อนเบาหวาน #เบาหวานคุมระดับน้ำตาล #โรคเบาหวาน #ควบคุมน้ำตาล #blood_glucose_control #glucose_control #glucosecontrol

TH.2024.51305.GLU.1 (v1.0) ©2024 Abbott

เอกสารอ้างอิง

1.              Mouri M, Badireddy M. Hyperglycemia [Internet]. National Library of Medicine. StatPearls Publishing; 2023. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK430900/

2.              Nakrani MN, Wineland RH, Anjum F. Physiology, Glucose Metabolism [Internet]. PubMed. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2023. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK560599/

3.              สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2566. 1st ed. ศรีเมืองการพิมพ์; 2566.

4.              4 วิธีรักษาระดับน้ำตาลในเลือดอย่างได้ผล. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก: https://www.family.abbott/th-th/glucerna/managing-diabetes-tools-and-guides/diabetes-treatment/4-effective-ways-to-maintain-blood-sugar-levels.html.

5.              Sami W, Ansari T, Butt NS, Hamid MR. Int J Health Sci (Qassim) 2017;11(2):65-71.

6.              Minari TP, Tácito LHB, Yugar LBT, Ferrerira-Melo SE, Manzano CF, Pires AC, et al. Nutrients 2023;15(24):5096.

7.              Kusunoki Y, Konishi K, Tsunoda T, Koyama H. Intern Med 2022;61:281-90.

8.              Peng J, Lu J, Ma X, Ying L, Lu W, Zhu W, et al. Br J Nutr 2019;121:560-6.

9.              Chee WSS, Gilcharan Singh HK, Hamdy O, Mechanick JI, Lee VKM, Barua A, et al. BMJ Open Diabetes Res Care 2017;5:1-13.

บทความที่เกี่ยวข้อง