Dialysis: What You Need To Know

ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกจากมะเร็ง (cancer cachexia)

ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกจากมะเร็ง
ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกจากมะเร็ง
ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกจากมะเร็ง

ภาวะน้ำหนักลดในผู้ป่วยมะเร็ง ภัยเงียบที่ต้องรีบแก้ไข

ภาวะน้ำหนักตัวลดในผู้ป่วยมะเร็ง

ภาวะน้ำหนักตัวลดจากโรคมะเร็ง เป็นภาวะที่พบในผู้ป่วยมะเร็งจำนวนมาก อาการแสดงหลักที่พบคือ น้ำหนักตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยมีร่างกายผอมซูบเนื่องจากสูญเสียมวลกล้ามเนื้อและมักมีอาการร่วมอื่น ๆ1-3 ที่ทำให้การดำเนินของภาวะนี้รุนแรงขึ้นได้้แก่ ไม่อยากอาหาร คลื่่นไส้้ อาเจียน อ่อนแรง ทำให้้ผู้้ป่วยรับประทานอาหารได้้น้้อยลง

จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้ป่วยมะเร็งมีภาวะน้ำหนักตัวลด

ผู้ป่วยมะเร็งได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะน้ำหนักตัวลดคือผู้ป่วยที่มีน้ำหนักลดลงมากกว่า 5% ในช่วงเวลา 6 เดือน3 หรือลดลงมากกว่า 2% ในผู้ป่วยที่ผอมอยู่แล้ว

(ค่าดัชนีมวลกาย < 20 กก./ม2) หรือแสดงอาการของการสูญเสียมวลกล้ามเนื้ออย่างชัดเจน ที่เรียกว่า“ผอมหนังหุ้มกระดูก”4

สาเหตุของภาวะน้ำหนักตัวลดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ผู้ป่วยมะเร็งมักมีภาวะน้ำหนักตัวลดลงอาจเพราะความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรค มะเร็งหรือผลกระทบจากการรักษา นอกจากนั้นสาเหตุสำคัญเกิดจากผลกระทบ จากตัวโรคเพราะร่างกายของผู้ป่วยมะเร็งจะถูกกระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบมากขึ้น โดยการผลิตสารที่ชื่อ ไซโตไคน์ (cytokine) ออกมามากขึ้น4

เมื่อสารไซโตไคน์ ถูกผลิตและปล่อยออกมามาก ๆ จะส่งผลให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีอาการเบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อยลง แต่มีการเผาผลาญอาหารมากกว่าปกติหลายเท่า ดังนั้น ถ้าพลังงานที่ร่างกายได้รับเข้าไปไม่เพียงพอต่อการเผาผลาญ ผู้ป่วยมะเร็งจะมีภาวะอ่อนเพลีย ร่างกายซูบผอม และเริ่มเข้าสู่ภาวะน้ำหนักตัวลด หากปล่อยไว้ไม่รีบฟื้นฟูร่างกายจะส่งผลกระทบสำคัญต่อการรักษาและคุณภาพชีวิตด้านอื่น ๆ ตามมา4

ผลกระทบที่สำคัญจากภาวะน้ำหนักตัวลด

น้ำหนักตัวลดเป็นการแสดงถึงภาวะโภชนาการในร่างกายที่่ไม่สมดุล ซึ่งมีผล

กระทบสำคัญต่อผู้ป่วยมะเร็งดังนี้

  • ความแข็งแรงของร่างกายลดลง ส่งผลให้ร่างกายไม่พร้อมต่อการเข้ารับการรักษาแบบต่าง ๆ เช่น เคมีบำบัด ฉายแสง รวมถึงผ่าตัด
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ5
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อผลแทรกซ้อนจากการรักษา
  • เพิ่มระยะเวลาในการที่ผู้ป่วยต้องนอนพักรักษาตัวในรพ.6

ดังนั้น หากสามารถแก้ไขภาวะน้ำหนักตัวลดในผู้ป่วยโรคมะเร็งได้ จะมีส่วนช่วยลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อน รวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่ออัตราการเสียชีวิตได้มากขึ้น ดังนั้น การป้องกันภาวะน้ำหนักตัวลดในผู้ป่วยโรคมะเร็งจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาที่ ไม่อาจละเลยได้

เอกสารอ้างอิง:
1 Aoyagi T et al. World J Gastrointest Oncol. 2015;7(4):17-29.
2 Stewart GD et al. 2006. Clin Med 6: 140-143.
3 DeWys WD et al. 1980. Am J Med 69: 491-497.
4 Arends J et al. Clin Nutr. 2017;36(1):11-48.
5 Andreyev HJ et al. European journal of cancer. 1998 Mar 1;34(4):503-9.
6 Leandro-Merhi VA, et al. Arquivos de gastroenterologia. 2011 Mar;48(1):58-61

TH.2021.21503.PRO.1 (v1.0)©2022Abbott

Related Articles