Dialysis: What You Need To Know

รู้จักอีพีเอ (EPA) สารสำคัญช่วยเพิ่มน้ำหนักในผู้ป่วยโรคมะเร็งให้สมดุล

 (EPA) สารสำคัญช่วยเพิ่มน้ำหนักในผู้ป่วยโรคมะเร็ง
 (EPA) สารสำคัญช่วยเพิ่มน้ำหนักในผู้ป่วยโรคมะเร็ง
 (EPA) สารสำคัญช่วยเพิ่มน้ำหนักในผู้ป่วยโรคมะเร็ง

รู้จักอีพีเอ (EPA) สารสำคัญช่วยเพิ่มน้ำหนักในผู้ป่วยโรคมะเร็งให้สมดุล

อีพีเอ (EPA) คืออะไร

อีพีเอ (EPA) หรือ กรดไอโคซาเพนตาอีโนอิก (Eicosapentaenoic acid) เป็นหนึ่งในกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน(Polyunsaturated fatty acids; PUFAs) ชนิดโอเมก้า-3 (ω-3) พบได้จากปลาทะเลน้าลึก (marine fish) เช่น ปลาแซลมอน ปลาซาดีน และปลาทูน่า หรือจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ามันปลา รวมถึงอาหารทางการแพทย์1-2

ประโยชน์ของอีพีเอ (EPA)  ช่วยลดการอักเสบ เพิ่มน้ำหนักตัวในผู้ป่วยโรคมะเร็ง

เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วย ร่างกายจะผลิตไซโตไคน์ (Cytokines) ต่าง ๆ ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายหลั่งออกมาเพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย รวมถึงกระบวนการอักเสบในร่างกายซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการเยียวยาตนเอง

ในกรณีของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ร่างกายของผู้ป่วย จะไม่สามารถควบคุมการหลั่งไซโตไคน์ (Cytokines) ได้เหมือนคนปกติ เนื่องจากเซลล์มะเร็งในร่างกายของผู้ป่วยเป็นตัวกระตุ้น ส่งผลให้ระบบการเผาผลาญในร่างกายของผู้ป่วยทำงานหนักกว่าปกติ มีภาวะเบื่ออาหาร ทานข้าวได้น้อยก่อให้เกิดภาวะน้ำหนักตัวลด ซึ่งเป็นอุปสรรคในการรักษาตัว ของผู้ป่วยโรคมะเร็ง

อย่างไรก็ดี จากหลายงานวิจัยพบว่าอีพีเอ (EPA) นั้น สามารถลดการสร้างไซโตไคน์ (Cytokines) จึงส่งผลช่วยให้กระบวนการอักเสบในร่างกายลดลง ช่วยให้การทำงานของกระบวนการเผาผลาญของร่างกายผู้ป่วย กลับสู่ภาวะปกติ3-4

นอกจากนี้ ยังมีผลการวิจัยในผู้ป่วยโรคมะเร็ง พบว่าอีพีเอ (EPA)    ในปริมาณ 2 กรัมต่อวัน มีส่วนช่วยให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนอีกด้วย4-6

ทั้งนี้ การจะได้รับอีพีเอ (EPA) ในปริมาณที่เพียงพอต่อความ ต้องการของผู้ป่วยมะเร็งเป็นเรื่องที่เกิดได้ยากจากการรับประทานอาหารทั่วไป เพราะผู้ป่วยจะต้องรับประทาน
ปลาทะเลน้ำลึกเป็นจำนวนมาก เพื่อให้ได้อีพีเอ (EPA) จำนวน 2 กรัม เช่น
ปลาโอลาย 2.56 กิโลกรัม
ปลาทูน่า 1 กิโลกรัม
พลูฟิน ทูน่า  0.93 กิโลกรัม
แซลมอน 0.41 กิโลกรัม

ดังนั้น การเลือกเสริมด้วยอาหารทางการแพทย์สูตรครบถ้วน สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง เพราะในอาหารทางการแพทย์สูตรครบถ้วนสำหรับ นั้น อุดมไปด้วย โปรตีน พลังงาน และ อีพีเอ (EPA)  ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วย จึงมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น และช่วยบรรเทากระบวนการอักเสบในร่างกายของผู้ป่วยได้7-8

เอกสารอ้างอิง:
1 Zuliani G et al. Curr Pharm Des. 2009;15(36):4087-93
2 Dewey A et al. Cochrane Database Syst Rev. 2007(1):Cd004597
3 Gorjao, Renata, et al. Pharmacology & therapeutics 196 (2019): 117-134.
4 Arends et al.Clinical nutrition 36.1 (2017): 11-48.
5 Wigmore et al. Nutrition and cancer 36.2 (2000): 177-184.
6 Wigmore, Stephen J., et al. Nutrition12.1 (1996): S27-S30.
Guarcello, M., et al. Nutritional Therapy & Metabolism 25.1 (2007): 25-30.
Ryan, Aoife M., et al. Annals of surgery249.3 (2009): 355-363.

TH.2021.21505.PRO.1 (v1.0)©2022Abbott

Related Articles