Dialysis: What You Need To Know

อาหารทางการแพทย์สูตรเฉพาะโรค            ลดความเป็นพิษจากการให้เคมีบำบัดและรังสีรักษา

Banner
Banner
Banner

อาหารทางการแพทย์สูตรสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีกรดไขมัน   อีพีเอสูงกับการลดพิษจากเคมีบำบัดและรังสีรักษา

การรักษาโรคมะเร็งเพื่อให้ได้ผลดี สามารถควบคุมโรคให้อยู่เฉพาะที่และป้องกันการแพร่กระจาย ตลอดจนหวังผลถึงขั้นหายขาดด้วยนั้น ส่วนใหญ่จะต้องใช้การรักษาแบบผสมผสาน (combined modality therapy) เช่น การผ่าตัด เคมีบำบัดร่วมกันกับรังสีรักษา เนื่องจากการใช้เพียงวิธีใดวิธีหนึ่งมักจะมีความเสี่ยงต่ออัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย1 อย่างไรก็ตามการรักษามะเร็งทั้งเคมีบำบัดและรังสีรักษาย่อมมีผลข้างเคียงตามมาจากพิษของตัวยาเคมีและรังสีที่ใช้ แต่เพื่อเป้าหมายในการรักษารวมถึงผลข้างเคียงหลายอย่าง แพทย์สามารถให้ยาป้องกันเพื่อควบคุมอาการหรือบรรเทาลงได้ 

การรักษาด้วยเคมีบำบัด เป็นการใช้ยาเคมีที่มีผลในการทำลายหรือฆ่าเซลล์มะเร็ง ส่วนใหญ่ยาเคมีจะไม่สามารถจำแนกแยกแยะระหว่างเซลล์มะเร็งและเซลล์ปกติในร่างกาย จึงมีผลข้างเคียงต่อเซลล์ปกติด้วย โดยเฉพาะเซลล์ที่มีการแบ่งตัวอยู่ตลอดเวลา ได้แก่ เซลล์เม็ดเลือด เซลล์ผิวหนัง หรือเซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร2  

พิษของเคมีบำบัดส่งผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ หลังได้รับยาจะเป็นอยู่ชั่วคราว2 เช่น

  • กดการทำงานของไขกระดูกที่สร้างเม็ดเลือด ทำให้เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดต่ำลง
  • อาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องร่วง ท้องเสีย  
  • อาการทางผิวหนัง เช่น ผมร่วง เจ็บหรือมีแผลภายในช่องปาก  

ส่วนรังสีรักษา เป็นการฉายรังสีไปยังเนื้องอกมะเร็ง รังสีจะทำลายดีเอ็นเอ (DNA) ของเซลล์มะเร็งทำให้เซลล์นั้นไม่สามารถอยู่รอดได้ 3 แม้เป้าหมายคือการทำลายเซลล์มะเร็ง แต่ก็กระทบกับเซลล์ปกติที่อยู่รอบข้างด้วย โดยเฉพาะเซลล์ที่มีการแบ่งตัวไว เช่น ผิวหนัง เส้นผม เยื่อบุในช่องปาก หรือลำไส้ 4  ส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง อาการอ่อนเพลีย ภูมิต้านทานต่ำจากเม็ดเลือดขาวลดจำนวนลง ตัวอย่างเช่น หากได้รับการฉายรังสีบริเวณช่องท้อง ก็อาจมีอาการปวดท้อง ท้องร่วง ท้องเสียเกิดขึ้นได้ ดังนั้นจึงควรรับประทานอาหารอ่อน ๆ ครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทนม อาหารมัน ๆ ผลไม้ หากยังมีอาการมากควรปรึกษาแพทย์ 5

เมื่อการรักษามะเร็งมาพร้อมกับผลข้างเคียงที่หลีกเลี่ยงได้ยาก วิถีทางที่ดีที่สุดคือ การปรับพฤติกรรมเพื่ออยู่กับโรคและรับมือกับการรักษาให้ได้อย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องดูแลสุขภาพให้พร้อมสู้ ทั้งด้านโภชนาการให้ครบ รักษาสุขอนามัย พักผ่อนให้พอเพียงและปรับสภาพจิตใจให้มีกำลังใจอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาถึงการเสริมด้วยอาหารทางการแพทย์สูตรสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีกรดไขมันอีพีเอ (Eicosapentaenoic Acid หรือ EPA) สูง พบว่ามีส่วนช่วยลดผลข้างเคียงที่เกิดจากพิษเคมีบำบัดและรังสีรักษาลงได้

ทั้งนี้จากการศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะลุกลามจำนวน 80 คนที่รักษาด้วยเคมีบำบัดและรังสีรักษาก่อนการผ่าตัด โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับอาหารทางการแพทย์สูตรสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีกรดไขมันอีพีเอสูง 2 หน่วยบริโภคต่อวัน จำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุม 40 คน พบว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารทางการแพทย์สูตรสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีกรดไขมันอีพีเอสูง มีอาการท้องร่วงที่ 55% ซึ่งต่ำกว่ากลุ่มควบคุมที่พบอาการ 80% และยังพบความเป็นพิษต่อระบบทางเดินอาหารต่ำกว่ากลุ่มควบคุม คือ 40% ส่วนกลุ่มควบคุมพบ 92% จะเห็นว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารทางการแพทย์สูตรสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีกรดไขมันอีพีเอสูงวันละ 2 หน่วยบริโภค (ได้รับอีพีเอ 2.2 กรัมต่อวัน) จะมีอาการข้างเคียงจากพิษของเคมีบำบัดและรังสีรักษาต่ำกว่านั่นเอง6

ทั้งนี้อาหารทางการแพทย์สูตรสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งมีส่วนช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย แต่ควรร่วมกับการรับประทานอาหารหลักให้หลากหลายครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

เอกสารอ้างอิง:
1 ทำไมบางคนต้องให้ยาเคมีคู่กับการฉายรังสี [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: https://bit.ly/3RH03RT
เรียนรู้เรื่องเคมีบำบัด [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: https://bit.ly/3VVbSGL
3 ข้อมูลสำหรับผู้ป่วยใหม่ [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: https://bit.ly/4bnZXWq
4 รักษาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: https://bit.ly/4cxAj2u
5 ความเข้าใจเกี่ยวกับรังสีรักษา [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: https://bit.ly/4bhLACY
6 Kilic D, et al. Clin Nutr Suppl. 2012;7(S1):165.

อาหารทางการแพทย์ ต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
TH.2024.51055.PRO.1 © 2024 Abbott

Related Articles