รู้จักโรคเบาหวานชนิดต่างๆ 

คุมอาหาร ปรับเปลี่ยนการกิน เพื่อเป้าหมายเข้าสู่เบาหวานระยะสงบ

Banner
Banner
Banner

 
ดูแลเบาหวานเพื่อให้เข้าสู่ระยะสงบ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามที่คุณหมอแนะนำ1

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (lifestyle modification) เป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าสู่เบาหวานระยะสงบได้สำเร็จ ด้วยการเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารและเครื่องดื่มร่วมกับการเพิ่มกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย เป็นเวลา 3–6 เดือน ภายใต้การดูแลของคุณหมอและบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะตั้งเป้าหมายและวางแผนการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย พร้อมทั้งติดตามผลอย่างใกล้ชิดในระยะเวลา 2 สัปดาห์ ถึง 1 เดือนแรก

​คำแนะนำการปรับเปลี่ยนการกินอาหารเพื่อเป้าหมายเข้าสู่เบาหวานระยะสงบ1

ผู้ป่วยสามารถเลือกประเภทอาหาร หรือวิธีกินอาหารที่เหมาะสมกับวิถีชีวิต ฐานะ รายได้ และข้อจำกัดด้านสุขภาพ เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน และปลอดภัย

1. อาหารพลังงานต่ำ ​(low-calorie diet หรือ LCD)

การปรับเปลี่ยนการกินเข้าสู่เบาหวานระยะสงบ

คือ อาหารที่ให้พลังงาน 1,200–1,500 กิโลแคลอรี/วัน เราสามารถลดพลังงานจากอาหารด้วยการ กินน้อยลง กินจานเล็ก ลดของมันของทอด หลีกเลี่ยงกะทิและอาหารแปรรูป อย่างไรก็ตาม อาหารทั้งหมดควรมีสัดส่วนของสารอาหาร (โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน) ที่สมดุล สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก ๆ นั้น การกินอาหารให้ได้พลังงานน้อยลง 500 กิโลแคลอรี/วัน จะช่วยลดน้ำหนักได้ประมาณ  2 กก./เดือน โดยผู้ป่วยอาจเลือกกินอาหารให้ได้พลังงานต่อวันตามที่กำหนดหรืออาจเลือกกินอาหารทางการแพทย์ทดแทนอาหารปกติ (รายละเอียดอ่านต่อด้านล่าง) นอกจากนี้ ผู้ป่วยสามารถเลือกรูปแบบอาหารพลังงานต่ำมาก (very low-calorie diet หรือ VLCD) ซึ่งเป็นการกินอาหารที่มีพลังงาน 400–800 กิโลแคลอรี/วัน โดยแนะนำให้ใช้ระยะเวลาสั้น ๆ และควรอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมอ3  โดยผู้ป่วยควรปรึกษาคุณหมอเพื่อสำรวจความพร้อมในการเริ่มกิน VLCD แต่หากพบว่าการกิน VLCD มีข้อจำกัดและความท้าทายมากเกินไป อาจเลือกการกิน LCD ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแทน (หรือทำตามคำแนะนำของคุณหมอ)

2. อาหารคาร์โบไฮเดรต (คาร์บ) ต่ำ (low-carbohydrate diet)

  • ระดับต่ำ (low) คือ คาร์บต่ำกว่า 130 กรัม/วัน หรือ น้อยกว่าร้อยละ 26 ของพลังงาน/วัน
  • ระดับต่ำมาก (very low) คือ คาร์บ 50 กรัม/วัน หรือ น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพลังงาน/วัน

 

3. การอดอาหารเป็นช่วงเวลา หรือ การทำ IF (intermittent fasting)

การอดอาหารเป็นช่วงเวลา

การแบ่งเวลากินอาหารออกเป็นช่วงที่กินอาหารได้ปกติ และช่วงงดกินอาหาร เพื่อเป็นการลดพลังงานที่ได้รับจากอาหารทั้งวัน ซึ่งจะช่วยลดน้ำหนัก และลดภาวะดื้ออินซูลินได้ การอดอาหารสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น การอดอาหารเป็นช่วงเวลาในแต่ละวัน การอดอาหารสลับวัน และการอดอาหารบางวัน โดยผู้ป่วยสามารถใช้วิธีการทำ IF และการปรับเปลี่ยนอาหารวิธีอื่นร่วมกันเพื่อลดพลังงานจากอาหาร

“ผู้ป่วยเบาหวานควรระมัดระวังการเกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ โดยควรเฝ้าระวังอาการ เช่น ใจสั่น มือสั่น เหงื่อออก หน้ามืด ขาดสมาธิในการทำงาน หากมีอาการเหล่านี้ควรหลีกเลี่ยงการอดอาหารต่อเนื่องเป็นเวลานาน”

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยการควบคุมอาหาร เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยความพยายามและความสม่ำเสมอในการปฏิบัติ ผู้ป่วยอาจเจอปัญหาในการเลือกชนิดของอาหาร มีความลำบากในการคำนวณพลังงานจากอาหารหรือการ “นับแคล” เนื่องจากไม่รู้จำนวนแคลอรีที่ชัดเจน จนอาจทำให้ควบคุมน้ำหนักไม่สำเร็จ และไม่สามารถเข้าสู่เบาหวานระยะสงบได้4 ดังนั้นอาหารทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้ป่วยเบาหวานหรืออาหารทางการแพทย์สูตรสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน  ที่ใช้ทดแทนมื้ออาหารหลักจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมพลังงานที่ได้รับต่อวันได้ง่ายขึ้น ช่วยควบคุมน้ำหนักตัว2 ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดความแปรปรวนของระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้ผันผวนขึ้นหรือลงอย่างรวดเร็วจนเสี่ยงต่อการเกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำและภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง3 สามารถใช้เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญในการช่วยเข้าสู่เบาหวานระยะสงบได้*

ข้อมูลอ้างอิง

1. ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย. แนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ให้เข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มงวดสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข; 2565.

2. Chee WSS, Gilcharan Singh HK, Hamdy O, Mechanik JI, Lee VKM, Barua A, et al. BMJ Open Diabetes Res Care 2017;5(1):e000384.

3. Peng J, Lu J, Ma X, Ying L, Lu W, Zhu W, et al. Br J Nutr 2019;121(5):560-6.

*ร่วมกับการรับประทานอาหารหลักให้หลากหลายครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออาหารทางการแพทย์ต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์

TH.2024.56622.GLU.1 (v1.0) ©2024 Abbott

บทความที่เกี่ยวข้อง

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...