รู้จักโรคเบาหวานชนิดต่างๆ 

รู้จักอาหารทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

Banner
Banner
Banner

อาหารทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน: อีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญในการเข้าสู่เบาหวานระยะสงบ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มงวดด้วยการควบคุมอาหาร เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยความพยายามและความสม่ำเสมอในการปฏิบัติ ผู้ป่วยอาจเจอปัญหาในการเลือกชนิดของอาหาร มีความลำบากในการคำนวณพลังงานจากอาหารหรือการ “นับแคล” เนื่องจากไม่รู้จำนวนแคลอรีที่ชัดเจน จนอาจทำให้ควบคุมน้ำหนักไม่สำเร็จ และไม่สามารถเข้าสู่เบาหวานระยะสงบได้1

 

อาหารทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน หรืออาหารทางการแพทย์สูตรสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ที่ใช้ทดแทนมื้ออาหารหลัก จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมพลังงานที่ได้รับต่อวันได้ง่ายขึ้น ช่วยควบคุมน้ำหนักตัว2 ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดความแปรปรวนของระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้ผันผวนขึ้นหรือลงอย่างรวดเร็วจนเสี่ยงของต่อการเกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำและภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง3  สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการดูแลให้ผู้ป่วยเข้าสู่เบาหวานระยะสงบ 

โดยอาหารทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน (diabetes specific formula หรือ DSF) มีคาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร กรดไขมัน กรดอะมิโนและโปรตีน รวมถึงวิตามินและแร่ธาตุในสัดส่วนเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน สามารถใช้ทดแทนอาหารมื้อหลักหรือเป็นอาหารเสริมระหว่างมื้อได้4 นอกจากนี้ DSF ที่มีคาร์โบไฮเดรตชนิดพิเศษ เช่น ไฟเบอร์ซอล-2 ซูโครมอลต์ และ fructooligosaccharides (FOS) ซึ่งมีคุณสมบัติ คือ ถูกย่อยและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ช้า จะช่วยให้รู้สึกอิ่มได้นานขึ้น และมีส่วนช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด4-6

อาหารทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

ในทางปฏิบัติ เมื่อผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้แล้ว คุณหมอจะสามารถพิจารณาลด/งดการใช้ยาอันจะเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วย เข้าสู่เบาหวานระยะสงบได้

  • การศึกษาในประเทศมาเลเซียพบว่า การนำ DSF มาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการดูแลผู้ป่วยเบาหวานต่อเนื่องเป็นเวลา 6 เดือน สามารถมีส่วนช่วยลด A1C ได้ 0.5–1.1% ช่วยลดน้ำหนักตัวได้ 5–7 กิโลกรัม และช่วยลดการใช้ยาเบาหวานได้ถึง 19.6%5
  • การศึกษาในประเทศไทยที่นำ DSF มาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการดูแลผู้ป่วยเบาหวานด้วยอาหารพลังงานต่ำมาก มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยเข้าสู่เบาหวานระยะสงบร้อยละ 79 (15 จาก 19 ราย)7

“การใช้อาหารทางการแพทย์สูตรสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อทดแทนมื้ออาหาร 1-2 มื้อ/วัน หรือทดแทนอาหารทั้ง 3 มื้อในระยะสั้น จะช่วยลดพลังงานจากอาหารในมื้อที่ทดแทนได้ ช่วยเพิ่มความสะดวก ลดภาระการนับแคลจากอาหาร และการเลือกอาหาร”8

ข้อมูลอ้างอิง

1. Trenell M, Bajaj H, Mechanick JI, Hamdy O. Clin Diabetes 2024; cd240052.

2. Chee WSS, Gilcharan Singh HK, Hamdy O, Mechanik JI, Lee VKM, Barua A, et al. BMJ Open Diabetes Res Care 2017;5(1):e000384.

3. Peng J, Lu J, Ma X, Ying L, Lu W, Zhu W, et al. Br J Nutr 2019;121(5):560-6.

4. Ye Z, Arumugam V, Haugabrooks E, Williamson P, Hendrich S. Nutr Res 2015;35(5):393-400.

5. Dávila LA, Bermúdez V, Aparicio D, Céspedes V, Escobar MC, Durán-Agüero S, et al. Nutrients 2019;11(7):1477.

6. Caetano BF, de Moura NA, Almeida AP, Dias MC, Sivieri K, Barbisan LF. Nutrients 2016;8(7):436.

7. Umphonsathien M, Prutanopajai P, Aiam-O-Ran J, Thararoop T, Karin A, Kanjanapha C, et al. Food Sci Nutr 2019;7(3):1113-22.

8. ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย. แนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ให้เข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มงวดสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข; 2565.

*ร่วมกับการรับประทานอาหารหลักให้หลากหลายครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออาหารทางการแพทย์ต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์

TH.2024.56622.GLU.1 (v1.0) ©2024 Abbott

บทความที่เกี่ยวข้อง

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...