อาหารทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน สามารถใช้เป็นทางเลือกควบคู่ไปกับการรักษาของแพทย์ได้ในทุกระยะของโรคเบาหวาน
ผู้ป่วยในระยะก่อนเป็นโรคเบาหวาน อาหารทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน จะช่วยให้ผู้ป่วยจำกัดพลังงาน ควบคุมน้ำหนักตัว ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ลดความเสี่ยงของปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการเกิดโรคเบาหวานในอนาคต
ผู้ป่วยเบาหวานที่เพิ่งเริ่มรักษาด้วยยารับประทาน หรือมีการปรับเพิ่มขนาดและชนิดของยา อาหารทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ไม่เพียงแต่ช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่ยังให้สารอาหารที่ครบถ้วน เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาฉีดเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด อาหารทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน จะช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างมื้ออาหารได้ ลดความแปรปรวนของระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดความเสี่ยงของปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน
จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าอาหารทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้ป่วยเบาหวานมีบทบาทสำคัญในทุกขั้นตอนของการดูแลรักษาโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตามผู้ป่วยเบาหวานควรปรึกษาแพทย์ เพื่อปรับสัดส่วนของอาหารทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ให้เหมาะสมตามแต่ระยะของการรักษา
ประโยชน์ของอาหารทดแทนสูตรครบถ้วนที่ครอบคลุมถึงผู้ป่วยเบาหวานในแต่ละกลุ่ม
ภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน (Prediabetes) เป็นภาวะที่เริ่มมีความผิดปกติในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือก คือ มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารอยู่ที่ 100-125 มก./ดล. หรือมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหารมากกว่า 140-199 มก./ดล. ซึ่งคนกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวานในอนาคตมากกว่าคนทั่วไป ในกลุ่มผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและมีน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน จากงานวิจัยพบว่าการได้รับคำปรึกษาทางด้านโภชนาการอย่างเหมาะสม และวางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มงวด หรือได้รับอาหารทดแทนมื้ออาหารควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้น้ำหนักตัวลดลง มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานในอนาคตได้ถึง 58%13 และประโยชน์ต่อสุขภาพนี้ยังคงส่งผลดีต่อเนื่องในระยะยาว โดยพบว่าในอีก 15 ปีต่อมา อัตราเสี่ยงของปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการเกิดโรคเบาหวานยังลดลงถึง 27% ทั้งยังมีภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือดขนาดเล็กลดลงถึง 28%14
โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) เป้าหมายในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน คือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติโดยไม่เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ การลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนจาก โรคเบาหวาน และการควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว โดยมีการศึกษาในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีน้ำหนักตัวเกินพบว่ามีส่วนช่วยให้โรคเบาหวานหายขาดในช่วงระยะเวลา 2 ปี เมื่อได้รับอาหารทดแทนมื้ออาหารทั้ง 3 มื้อ ร่วมกับมีการวางแผนเพื่อควบคุมน้ำหนักตัวในระยะยาว โดยหากมีน้ำหนักตัวลดลงมากกว่า 10 กิโลกรัม จะมีโอกาสหายขาดได้ถึง 57% และหากลดน้ำหนักได้มากกว่า 15 กิโลกรัม จะเพิ่มโอกาสในการหายขาดได้ถึง 86%15 นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่ยืนยันถึงประโยชน์ของการรับประทานอาหารทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้ป่วยเบาหวานทดแทนอาหารมื้อเช้าว่า มีส่วนช่วยควบคุมความแปรปรวนของระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่าการได้รับคำแนะนำทางโภชนาการเพียงอย่างเดียว12,16 ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes Mellitus) เป้าหมายในการรักษาโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับใกล้เคียงปกติมากที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงของปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ทั้งต่อมารดาและทารก เช่น ภาวะแท้ง ภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ และทารกพิการแต่กำเนิด เป็นต้น ซึ่งมีการศึกษาพบว่าหญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่รับประทานอาหารทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้ป่วยเบาหวานแทนอาหารว่างสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี17 อย่างไรก็ตามควรปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อปรับสัดส่วนของอาหารทดแทนให้มีความเหมาะสม
ข้อมูลอ้างอิง
1.ADA Standards of Medical Care in Diabetes-2018. Diabetes Care 2018;41(Suppl. 1):S1-S159.
2.Chee WSS, Gilcharan Singh HK, Hamdy O, et al. BMU Open Diab Res Care 2017;5:e000 384. doi: 10.1136/ bmjdrc-2016-000384.
3.Voss AC et al. Nutrition 2008, 24:990-997.
4.Mottalib A et al. Nutrients 2016, 8, 443; doi: 10.3390/nu8070443
5.Devitt A et al. Journal of Diabetes Research and Clinical Metabolism 2012, 1:20.
6.Davila LA et al. Nutrients 2019, 11, 1477; doi: 10.3390/nu1 107 1477
7.Lim G., Brubaker P. Diabetes 2006. 55 (Suppl. 2):S70-S77.
8.Shah M, Vella A. Rev Endocr Metab Disord 2014, 15(3): 181- 187. doi: 10. 1007/s 11 154-014-9289-5.
9.Dailey MU.,Moran TH. Trends Endocrinol Metab 2013, 24(2): 85-91. doi: 10. 1016/j.tem.20 12.11.008.
10.Mechanick JI et al. Curr Diab Rep. 2012
11.Liu J et al. Laser J. 2013;34:75.
12.Garber AJ et al. Endocr Pract 2020;26(1):107-139.
13.Knowler WC et al. N Engl J Med. 2002;7;346(6):393-403.
14.Diabetes Prevention Program Research Group. Lancet Diabetes Endocrinol. 2015;3(11):866-75.
15.Lean MEJ et al. Lancet Diabetes Endocrinol. 2019;7(5):344-355. doi:10.1016/S2213-8587(19)30068-3
16.Peng J et al. Br J Nutr 2018;11:1-25.
17.Mustad VA et al. Nutrients. 2020;12(2):385.
18.Yu X.Y et al. National Medical Journal of China. 2013. 93(43):3450-3453.
อาหารทางการแพทย์ ต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
TH.2022.33272.GLU.1 (v1.0)©2023Abbott
ปรึกษาด้านสุขภาพและโภชนาการกับผู้เชี่ยวชาญของเรา