สรุปประโยชน์ของไฟเบอร์ซอล ซูโครมอลต์ และ FOS จากการศึกษาทางการแพทย์
มีการศึกษาจำนวนมากได้ยืนยันถึงคุณประโยชน์โดยรวมของทั้ง 3 ส่วนผสมในอาหารทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ว่าช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว คุณประโยชน์ดังกล่าว ได้แก่
ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในระหว่างวัน โดยไม่ทำให้ค่าของระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารและหลังมื้ออาหารสูง และช่วยทำให้ระดับของค่าน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ลดลงได้5-9
ชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด
เพิ่มการหลั่งฮอร์โมน GLP-1
เพิ่มการสร้างอินซูลินธรรมชาติ
ช่วยลดการดูดซึมไขมันสู่กระแสเลือด รวมทั้งไตรกลีเซอไรด์ และชะลอการดูดซึมของไขมันเข้าสู่กระแสเลือด¹,⁴ มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับหลอดเลือดได้
ช่วยเรื่องระบบขับถ่าย และสุขภาพของระบบทางเดินอาหาร FOS จัดเป็นพรีไบโอติก ช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้ใหญ่ จึงมีส่วนช่วยทำให้ระบบขับถ่าย ระบบภูมิคุ้มกันในลำไส้ และสุขภาพของระบบทางเดินอาหารทำงานได้อย่างเป็นปกติ4,10
ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก มีการศึกษาพบว่า ไฟเบอร์ซอล ช่วยเพิ่มการหลั่งฮอร์โมน peptide YY (PYY) และ GLP-1 ในสำไส้เล็กที่มีบทบาทควบคุมความหิวความอิ่ม จึงมีส่วนช่วยยืดเวลาความอิ่มให้นานขึ้นหลังมื้ออาหาร และรู้สึกหิวช้าลง11 จึงมีส่วนช่วยในการควบคุมน้ำหนักเมื่อนำมาใช้ควบคู่กับการปรับพฤติกรรม
ลดความดันโลหิต6 ช่วยลดความเสี่ยงของปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดหัวใจ
การที่ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง จะช่วยลดความเสี่ยงของปัจจัยที่อาจส่งผลต่อภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับหลอดเลือดและลดการเสียชีวิตเนื่องจากเบาหวานได้ด้วยคุณประโยชน์ต่างๆ เหล่านี้ อาหารทดแทนสูตรครบถ้วน สำหรับผู้ป่วยเบาหวานจึงเป็นหนึ่งในทางเลือกที่นำมาใช้ประกอบการดูแลโรคเบาหวาน
ข้อมูลอ้างอิง
1. Ohkuma K et al. Advanced dietary fibre technology 2001,ch44,509-22.
2. U.S. Department of Agriculture. Sucromalt. https://www.ars.usda.gov/ is/br/sucromalt/sucromalt.pdf.
3. Dammann KW et al. Nutr Neurosci. 2013, 16(2):83-95.
4.Bornet FRJ. Advanced dietary fibre technology 2001,ch41,480-93.
5. Voss AC et al. Nutrition 2008, 24:990-997.
6. Devitt A et al. J Diabetes Res Clin Metab 2012,1:20.
7. Mottalib A et al. Nutrients 2016,8,443.
8. Davila LA et al. Nutrients 2019,11,1477.
9. Sun J et al. Asia Pac J Clin Nutr 2008,17,514-524.
10. Ten Bruggencate SJM et al. J Nutr 2006,136,7-74.
11. Ye Z et al. Nutr Res 2015, 393-400.
12 Tatti P et al. Mediterr J Nutr Mettab 2010,3,65-69.
13. Chee WSS, et al. BMJ Open Diab Res Care 2017;5:e000384.
14 The Look AHEAD Research Group. Diabetes Care 2007.30;6:1374-1383.
15. Suh S et al. Diabetes Metab J 2015; 39:273-282.
อาหารทางการแพทย์ ต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
TH.2022.33272.GLU.1(v1.0)©2023Abbott
ปรึกษาด้านสุขภาพและโภชนาการกับผู้เชี่ยวชาญของเรา